3. ตลาดยา – ตอนที่ 40

สำหรับปี พ.ศ. 2567 ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยคาดว่า ยอดขาย (Revenue) ของร้านขายยา (Drug store) จะอยู่ที่ 43,000 ล้านบาท เติบโตที่ 4.0% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2566 ท่ามกลางการ แข่งขันของธุรกิจที่มีแนวโน้มรุนแรง (Fierce competition) ขึ้น ในหลายประเด็น ได้แก่

  • การรุกขยายสาขา (Branch expansion) ของร้านขายยาเครือข่าย (Chain store) ทำให้รายย่อยแข่งขันลำบาก ทั้งระบบสัมปทาน (Franchise) ราย ใหญ่, ผู้ผลิตยา (Manufacturer), และโรงพยาบาลเอกชน (Private) เพื่อเพิ่มช่องทาง (Channel) การจัดจำหน่ายทางตรง (Direct distribution)
  • ธุรกิจค้าปลีก (Retailer) ที่แตกสายผลิตภัณฑ์ (Product line), ธุรกิจร้านขายยา, และธุรกิจขายสินค้าสุขภาพ (Health goods) เพิ่มเติม ซึ่งน่าจะมีข้อได้เปรียบ (Competitive advantage) ในเรื่องของทำเลที่ตั้ง (Location) ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (Access) ได้สะดวก
  • ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ร้านขายยารายย่อยบางส่วนแข่งขันรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมือง (Urban) และพื้นที่ชุมชน (Community) ซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพ (Potential)
  • ตัวเลขสะท้อน (Reflect) ได้จากยอดขายของร้านขายยาเครือข่าย ซึ่งในปี พ.ศ. 2567 คาดว่าจะมีสัดส่วน (Proportion) ราว 30% เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 ที่มีสัดส่วนมูลค่าราว 28%
  • อย่างไรก็ตาม คาดว่าสัดส่วนยอดขายของร้านขายยารายย่อย โดยเฉพาะจังหวัดที่มิใช่ตัวเมืองหลัก และกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะมีแนวโน้มลดลง
  • ปัจจุบันจะมีจำนวนเภสัชกร ที่ปฏิบัติหน้าที่ (On duty) ในร้านขายยามีประมาณ 22,000 คน ซึ่งยังมีเพียงพอ (Sufficient) กับจำนวนร้านขายยา แต่ในอนาคตอันใกล้ (Near future) หากผู้ประกอบการโดยเฉพาะร้านขายยาเครือข่ายยังคงมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้น อาจทำให้ท้ายที่สุด (Ultimate) จำนวนเภสัชกรเพิ่มขึ้นไม่ทันกับจำนวนสาขาร้านขายยา ดังนั้น การแข่งขันเพื่อแย่งชิงเภสัชกร (Pharmacist) จะเกิดขึ้น
  • ในปัจจุบัน การที่ผู้ประกอบการร้านขายยาเครือข่ายรายใหญ่ เปิดรับสมัครเภสัชกรทั้งเต็มเวลา (Full time) และ บางเวลา (Part time) โดยแข่งกันเสนอทั้งเงินเดือน (Salary), ค่าประสบการณ์ (Experience), และสวัสดิการ (Welfare benefit) ต่างๆ รวมถึง เปิดโอกาสให้ร่วมเป็นเจ้า (Co-ownership) ของร้านขายยาเพื่อดึงดูดให้เภสัชกรเข้ามาทำงาน

อีกมิติหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2566 ตลาดยาในประเทศไทยโต 6% จากปี พ.ศ. 2565 โดยตลาดนี้มีช่องทาง (Channel) หลักมาจากยาในโรงพยาบาล (Hospital) ที่มีมูลค่ามากถึง 174,000 ล้านบาท และร้านขายยา (Drug store) มูลค่า 38,000 ล้านบาท

การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งมาจากผู้ป่วยต่างชาติ (Foreign patients) กลับเข้ามา (Return) ใช้บริการโรงพยาบาลในไทยเพื่อรักษามากขึ้น และพฤติกรรม (Behavior) ผู้บริโภคที่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ (Health consciousness)

ส่วนในปี พ.ศ. 2567 คาดการณ์ว่า ตลาดยา (Pharmaceutical market) มีมูลค่า 225,000 ล้านบาท เติบโต 6.1% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยมีมูลค่าจากช่องทางโรงพยาบาล 180,000 ล้านบาท และร้านขายยา 45,000 ล้านบาท

ส่วนตลาดเสริมอาหาร (Food supplement) เป็นตลาดที่มีการเติบโตเช่นกันในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่า 77,790 ล้านบาท เติบโต 7.9% จากปีก่อน การเติบโต (Growth) นี้มาจากผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน (Preventive) โรคมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเชิงรักษา (Curative)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Drug-Store-CIS3480-FB-2024-04-04.aspx [2024, September 9].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, September 9].