3. ตลาดยา – ตอนที่ 33

ภาพรวมมูลค่า (Total value) ตลาดยาปี พ.ศ. 2565 ทั้งหมดราว 2 แสนกว่าล้านบาท โดยกว่า 2 ใน 3 อยู่ในส่วนของโรงพยาบาล (Hospital) ในปี พ.ศ. 2563 ผลกระทบของการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ทำให้อัตราการเติบโตในส่วนของร้านขายยาติดลบ -11% โรงพยาบาลติดลบ -1% 

ขณะที่ปี พ.ศ. 2564 มีการปรับตัวดีขึ้น (Turn-around) โดยที่ร้านขายยาเติบโต +11% และโรงพยาบาลเติบโต +6% [อันที่จริง จากฐาน (Base) ที่ต่ำลงในปีก่อนหน้านี้ สำหรับสัดส่วน (Proportion) ของร้านขายยาในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolis) ต่อร้านขายยาต่างจังหวัด (Province) ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง ปี พ.ศ. 2564 มีการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ (Significant)

กล่าวคือ จากกรุงเทพมหานคร 40% ต่างจังหวัด 60% เปลี่ยนสัดส่วนเป็นร้านในกรุงเทพมหานคร 30% และต่างจังหวัด 70% เนื่องจากเภสัชกร (Pharmacist) บางคนที่เคยทำงานในกรุงเทพมหานครกลับต่างจังหวัดไปเปิดร้านเอง เห็นได้ชัดใน จ. ภูเก็ต เภสัชกรที่อยู่ในส่วนของการท่องเที่ยวก็มีการเปิดร้านมากขึ้น ถือเป็นข้อดี (Benefit) ในการบริการประชาชนในพื้นที่

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งรวบรวมโดย น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ แสดงเป็นแผ่นภาพ (Graphics) มีดังนี้

มูลค่าตลาดยาในประเทศ ปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 2.33 ถึง 2.38 พันล้านบาท เป็นการนำเข้า (Import) 70% และผลิตในประเทศ (Domestic manufacture) 30% เป็นการขยายตัว (Expansion) 2.5% จากปี พ.ศ. 2564 และคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3 ถึง 5% ในปี พ.ศ. 2566

ช่องทางการจำหน่าย (Distribution channel) แบ่งเป็น โรงพยาบาลรัฐ 60%, โรงพยาบาลเอกชน 25%, และร้านขายยา 15% ส่วนประเภทของยา แบ่งระหว่าง ยาสามัญ (Generic) 55% กับยาต้นตำรับ (Original) 45%

อัตราการขยายตัวในปี พ.ศ. 2563 ปรากฏว่า ร้านขายยาติดลบ -11% และโรงพยาบาล ติดลบ -1% แต่ในปี พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้น +11% และโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น +6%

จำนวนร้านขายยามีอยู่ 19,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 แห่งในปี พ.ศ. 2562 แล้วลดลงเหลือ 17,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2565 อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19

ปัจจุบัน สัดส่วนระหว่างร้านขายยาในกรุงเทพมหานคร กับร้านขายยาในต่างจังหวัดอยู่ที่ 30% และ 70% ตามลำดับ และปัจจุบัน ใบอนุญาต (License) ให้ขายยามีทั้งหมด 4 ประเภท อันได้แก่

ข.ย. 1 เป็นร้านขายยาปัจจุบันที่ขายยาปัจจุบัน หรือยาควบคุมพิเศษ (Special control) บางประเภท ที่อนุญาตให้เภสัชกรร้านขายยาขายได้ ยาควบคุมพิเศษต้องมีใบสั่งแพทย์ (Prescription) และมีเภสัชกรประจำร้าน

ข.ย. 2 เป็นร้านขายยาปัจจุบัน บรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ไม่จำเป็นต้องมีเภสัชกรประจำร้าน

ข.ย. 3 เป็นร้านขายยาปัจจุบัน เฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ควบคุมการขายยาโดยเภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ชั้น 1 หรือ ชั้น 2 ประจำอยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ

ข.ย. 4 เป็นร้านขายส่งยาแผนปัจจุบัน โดยขายส่ง (Wholesale) ให้ร้านขายยาที่ขายให้คลินิก หรือร้านขายยาย่อย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.bangkokbiznews.com/business/1004721[2024, June 3].
  2. https://www.pharcpa.com/ [2024, June 3].