3. ตลาดยา – ตอนที่ 32
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 พฤษภาคม 2567
- Tweet
สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) [Community Pharmacy Association (Thailand)] เปิดเผยตลาดยาไทยแตะปีละ 2 แสนล้านบาท ชี้โรงพยาบาล (Hospital) เป็นลูกค้ารายใหญ่ถึง 2 ใน 3 โดยที่ร้านยาต่างจังหวัด (Provincial pharmacy) เพิ่มสัดส่วน (Proportion) แตะ 70%
ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย คาดว่าอัตราการเติบโต (Growth rate) 3 - 5% ต่อปี ระบุสังคมสูงวัย (Aging society) หนุน, โรงพยาบาลรัฐซื้อยาเพิ่ม, และร้านยาแบบกลุ่มสัมปทาน (Franchise) ขยายตัวต่อเนื่อง โดยแย่งส่วนแบ่งตลาด (Market share) จากร้านยารายย่อย
ภาพรวมตลาดยาปี พ.ศ. 2565 มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทและมีแนวโน้มโตต่อเนื่อง กลุ่มธุรกิจหลายรายหันมาเล่นตลาดร้านขายยามากขึ้น ปัจจุบันมีอยู่ราว 17,000 แห่ง คาดผู้เล่นรายใหม่รวมทั้งเภสัชกรจบใหม่ ซึ่งมีปีละกว่า 2,000 หันมาคนสนใจทำธุรกิจตลาดร้านขายยาที่โตต่อเนื่อง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้บริโภคกว่า 30 ถึง 40% เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับยามูลค่าการนำเข้ายาปี พ.ศ. 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 13.0%
การปรับมาตรฐาน (Standard) ร้านยาให้เป็นไปตาม มาตรฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรม (Good pharmacy practice: GPP) เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย (Safety) ในการใช้ยาของประชาชน โดยเฉพาะร้านยาประเภท ข.ย.2 ประมาณ 1,000 แห่ง ต้องจ้างเภสัชกรประจำ และทำตามมาตรฐานเพื่อขยับสู่ร้านยา ข.ย.1 ทำให้มีผู้เล่น (Player) รายใหม่รวมทั้งเภสัชกรจบใหม่ (Pharmacist graduate) ซึ่งมีปีละกว่า 2,000 คน สนใจทำธุรกิจตลาดร้านขายยา (Pharmacy market) มากขึ้น
นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ภาพรวมร้านยาแผนปัจจุบันในปี พ.ศ. 2557 มีประมาณ 19,000 แห่ง และในปี พ.ศ. 2562 ขยับจำนวนขึ้นมาเป็น 20,000 กว่าแห่ง แต่ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition) การแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 มาจนถึงปี พ.ศ. 2565 เหลือร้านขายยาอยู่ราว 17,000 แห่ง
ส่วนหนึ่งมีผลมาจาการการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานร้านยาในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศ (Announcement) กระทรวงสาธารณสุข (Public Health) กำหนดระยะเวลาผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาต (License) ขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 ตามมาตรฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรม (GPP)
โดยสร้างมาตรฐานให้ร้านยามีมาตรฐานเท่ากันทั้งบุคลากร (Staff), สถานที่ (Facility), การเก็บรักษายา (Storage), วิธีการที่ให้บริการ (Service approach) ประชาชน, ในพื้นที่ที่เหมาะสม (Appropriate area), อุณหภูมิยาที่ถูกต้อง (Right temperature), รวมถึงการส่งมอบ (Delivery) ยาอันตราย (Dangerous) ต้องผ่านมือเภสัชกร
โดยเฉพาะยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (Special control) ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการคุ้มครอง (Protection) ความปลอดภัย (Safety) ในการใช้ยา (Usage) ของประชาชน โดยให้เวลา 8 ปี ในการปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Uniform) ทั้งประเทศ ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2565
หลังจากนั้นมา ร้านขายยาต้องได้มาตรฐานทั้ง 5 หมวด คือ สถานที่, อุปกรณ์ (Equipment), บุคลากร, การควบคุมคุณภาพ (Quality control) ยา, และการปฏิบัติตาม (Compliance) วิธีปฏิบัติ (Practice guideline) ของเภสัชกรรมชุมชน ประกอบกับโควิด-19 ระบาดล่าสุด ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ณ เมษายน พ.ศ. 2565 ร้านขายมีจำนวนอยู่ที่17,000 แห่ง ลดลงจากปี พ.ศ. 2562 ที่เคยมีอยู่ 20,000 กว่าแห่ง
แหล่งข้อมูล –
- https://www.bangkokbiznews.com/business/1004721[2024, May 20].
- https://www.pharcpa.com/ [2024, May 20].