3. ตลาดยา – ตอนที่ 30
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 7 เมษายน 2567
- Tweet
อีกส่วนของกลุ่ม 2 คือ บริษัทยาข้ามชาติ (Multinational companies: MNC) ถือหุ้นส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ (Foreigner) บางรายเป็นตัวแทนนำเข้า (Representative importer) ยาต้นตำรับ (Original) หรือยาจดสิทธิบัตร (Patent) มีการจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูง
และบางรายเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยา (Pharmaceutical factory) สำเร็จรูปในไทย เช่น บริษัท Pfizer, บริษัท Novartis, บริษัท GlaxoSmithKline, บริษัท Sanofi-Aventis, และบริษัท Roche รายได้ที่เฟื่องฟู (Phenomenal revenue) สำหรับ บริษัท AstraZeneca เมื่อปี พ.ศ. 2564 คือ การผลิตและนำเข้าวัคซีน (Vaccine) ป้องกันไวรัส COVID-19
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ.ฉบับใหม่ องค์การเภสัชกรรม ถูกจัดให้อยู่ใน ฐานะผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เช่นเดียวกับ ภาคเอกชน (Private) ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด (Market competition) มากขึ้น ซึ่งรวมถึงต่างชาติที่ผลิตยาราคาถูกออกมาจำหน่าย เช่น อินเดียและจีนด้วย
ยาที่ผลิตได้ประมาณ 90% ถูกใช้บริโภคในประเทศ (Domestic consumption) และอีก 10% เป็นการผลิตเพื่อส่งออก (Export) ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านยา (Drug expenditure) ของประเทศคิดเป็นสัดส่วน 29.0% ของค่าใช้จ่าย (Spending) ในการรักษาพยาบาลทั้งหมด
แต่ที่น่าเสียดาย ก็คือ ไม่มีใครรับรู้ว่า ปัจจุบันผู้ผลิตยาภาคเอกชนในประเทศไทย เผชิญแรงกดดัน (Pressure) มากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่
- การเข้ามาแข่งขันของยาราคาถูกจากอินเดียและจีนที่มีต้นทุน (Cost) การผลิตต่ำกว่าไทย
- ผู้ผลิตเสียเปรียบ (Competitive disadvantage) ทั้งการเข้าถึงต้นทุนการผลิตที่ถูกและโอกาส (Opportunity) เข้าถึง (Access) ช่องทาง (Channel) การจำหน่ายให้รัฐ
- มาตรฐาน GMP-PIC/S (= Good Manufacturing Practices-Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme) ที่คุมเข้ม (Strictly control) ตามการประเมินยาแห่งสหภาพยุโรป (European Union: EU) เช่น การลงทุนในโรงงานและเครื่องจักร (Machinery) ที่ต้องใช้เงินลงทุน (ซึ่งบางแห่งสูงถึง 500 ล้านบาท) ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับคุณภาพเทียบสากล (International standard)
- การต้องจัดหาสถานที่ (Facility) เก็บยา (Storage) และการกระจาย (Distribution) ยาที่เหมาะสม (Appropriate) และเพียงพอ (Adequate) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข (Public-health criteria)
ข้างต้นเป็นเพียงอุปสรรค (Obstacle) ที่ถูกสะท้อนออกมาจากนายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (Thai Pharmaceutical Manufacturers Association: TPMA) ถึงจุดบอดของอุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) ของ ภาพฝัน “Medical Hub” ของไทย ที่กำลังถูกยานำเข้าเบียดบังการเติบโตของยาสัญชาติไทย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลิตที่เทียบสากลได้คุณภาพ (International standard) แต่ในแต่ละปี ไทยจะสามารถส่งออก (Export) ไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน (Neighbor) ทั้ง เมียนมา, ลาว, อินโดนีเซีย, และฟิลิปปินส์ เป็นต้น เพราะได้ยอมรับในแง่มาตรฐานยาที่ดี แต่ในประเทศเอง กลับเป็นรองยานอก
แต่หากเจาะข้อมูลลึกลงไป (Dig down) ก็อาจเป็นเรื่องน่าเสียดายมากนัก หากมูลค่าของตลาดยา (Market value) ปีหนึ่งมีเม็ดเงินเพียง 1 แสนล้านบาท ของยาที่เราต่างบริโภคกันอยู่มาจากการผลิตของบริษัทสัญชาติไทยเท่านั้น
แหล่งข้อมูล –