3. ตลาดยา – ตอนที่ 29
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 มีนาคม 2567
- Tweet
ปัจจุบัน นอกจากมีแนวโน้มชาวต่างชาติ (Foreigner) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาหรับ มุ่งเป้าเข้ามาเพื่อรักษาตัว ด้วยโรคภัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ยังพบการแพทย์ในแง่ศัลยกรรมตกแต่ง (Cosmetic surgery), ใบหน้า (Facial), ร่างกาย (Body), และ แปลงเพศ (Trans-gender) ประเทศไทยก็ได้รับความสนใจ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ในแง่การใช้เทคโนโลยี (Technology) และนวัตกรรม (Innovation) ก็เช่นกัน ดังนั้น “ยา” จะเป็นส่วนประกอบ (Component) ของกลไก (Mechanism) “Medical Hub” (ศูนย์กลางการแพทย์) ของประเทศไทย ที่มีความหลากหลาย (Variety) อย่างน่าจับตามอง
ความน่าสนใจของอุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical industry) เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนที่ไทยจะเผชิญ (Encounter) กับวิกฤติโควิด-10 ปี พ.ศ. 2561 ถึง 2562 เฉพาะแค่กลุ่มวิตามินบำรุง-เวชสำอาง (Cosmeceuticals) [ผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องสำอาง และ/หรือ ยาไว้ด้วยกัน] มีการเติบโต 7 ถึง 8%
อัตราเติบโตดังกล่าว สูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (Global gross domestic product: GDP) นั่นคือ จุดเปลี่ยน (Transition) ที่น่าสนใจในการลงทุน (Investment)
แม้การเติบโตของกลุ่มธุรกิจดูแลสุขภาพ (Health-care business) และเครื่องมือแพทย์ (Medical device) จะขยายตัว (Expand) อย่างมาก แต่ยาที่ผลิตโดยบริษัทไทย ยังมีอยู่น้อย ฉะนั้นช่องว่าง (Gap) การเติบโตในแง่การลงทุนมีอยู่มาก หากมองในมุมนักลงทุน (Investor’s perspective) ที่ยึดผลตอบแทนการลงทุน (Return on investment: ROI) เป็นหลัก
“จริงอยู่ ยา ไม่ใช่ธุรกิจที่กำไรสูง เพราะมีต้นทุนที่แพง แต่เป็นธุรกิจที่ไม่มีวันล้ม ผู้เล่น (Player) น้อยราย แต่การเติบโตมีแต่จะพุ่งต่อ (Continued growth) มูลค่ารวมมหาศาล อีกทั้งเป็นหมวดธุรกิจ ที่แม้แต่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ไม่มีหลักเกณฑ์กีดกัน (Obstruct) และพร้อมจะสนับสนุน (Support)”
เมื่อปี พ.ศ. 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) ระบุว่าไทยมีโรงงานผลิตยา (Pharmaceutical Factory) แผนปัจจุบัน ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) จำนวน 151 แห่ง
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยา แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม (Government Pharmaceutical Organization: GPO) และโรงงานเภสัชกรรมทหาร (Defense Pharmaceutical Factory)
- กลุ่มที่ 2 บริษัทยาภาคเอกชนอันได้แก่ บริษัทยาของผู้ประกอบการไทย ซึ่งคนไทยถือหุ้นใหญ่ ส่วนมากผลิตยาชื่อสามัญทั่วไป (Generic) และมีราคาไม่สูง เช่น บริษัทเบอร์ลิน-ฟาร์มาซูติคอล อินดัสตรี (Berlin Pharmaceutical Industry), บริษัทไทยนครพัฒนา (Thai Nakorn Development), บริษัทสยามฟาร์มาซูติคอล (Siam Pharmaceutical), และบริษัทไบโอฟาร์มเคมิคอล (Bio-Pharm Chemical) เป็นต้น ในขณะที่บางรายอาจรับจ้างผลิตร่วม (Contract manufacture) ด้วย เช่น บริษัทไบโอแลป (Bio-Lab), บริษัทเมก้าไลฟ์ไซแอ็นซ์ (Mega Life Sciences), และบริษัทโอลิค (OLIC)
แหล่งข้อมูล –