3. ตลาดยา – ตอนที่ 15

ในปี พ.ศ. 2565 อุตสาหกรรมยาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการบริโภคยาและเวชภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น จากการที่ . . .

  1. ภาคธุรกิจและประชาชนสามารถปรับตัว (Adjust) และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ระดับหนึ่ง สะท้อน (Reflecting) จากการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and social activities) ที่กลับสู่ระดับใกล้เคียงปกติ (Near normal)
  2. กำลังซื้อขยับดีขึ้นตามทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทย งานวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุทธาอ้างอิงการเติบโต 2% ในปี พ.ศ. 2565 โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.6% ในปี พ.ศ. 2564 ทำให้ผู้ป่วยทยอยกลับ (Gradual return) มารับการรักษาในสถานพยาบาล แต่กำลังซื้อของผู้บริโภคบางกลุ่มอาจถูกลดทอน จากราคาสินค้าและบริการที่ปรับสูงขึ้นตามราคาพลังงาน (Energy price)
  3. การเปิดประเทศ (Open up) เต็มรูปแบบ (เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) ทำให้คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4 ล้านคนจาก 4.3 แสนคน ในปี พ.ศ. 2564 ทำให้ความต้องการบริโภคยา (Consumption demand) มีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว

ปัจจัยข้างต้น ผนวกกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีอยู่ต่อเนื่อง (Continuously) สะท้อนความต้องการยา (Drug) และเวชภัณฑ์ (Medical supply) รวมถึงวัคซีน (Vaccination) เพื่อป้องกันโรคต่างๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

หน่วยงานวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุทธา ระบุว่ามูลค่าจำหน่ายยาในประเทศ ในปี พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้นในอัตรา 4.5 ถึง 5.0% จากปี พ.ศ. 2564 โดยการจำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาล โดยเฉพาะอานิสงส์จากภาครัฐที่เปิดโอกาสให้จัดซื้อยาบางประเภท เช่น ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir), โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), หรือแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ได้เอง

ขณะที่ร้านขายยาเพิ่มบทบาท (Role) เป็นหน่วยบริการดูแลและจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ (Prescription) เช่น ยาต้านไวรัส COVID-19 โดยร้านยาเข้าร่วมมากกว่า 800 แห่ง ตามโครงการ “เจอ-แจก-จบ” สำหรับกลุ่มอาการน้อย (สีเขียว), สิทธิ์บัตรทอง (Gold card) หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค, และประกันสังคม (Social security)

ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic) ที่ไม่ซับซ้อน เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง (โดยร้านยาเข้าร่วมมากกว่า 1,000 แห่งตามโครงการรับยาที่ร้านยา) ได้กระตุ้นยอดขายยาปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าจำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาล (Hospital) และร้านขายยา (Over-the-counter: OTC) ได้ขยายตัว +5.2% และ +4.5% ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ตามลำดับ

ปี พ.ศ. 2566 ถึง ปี พ.ศ. 2568 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายยาจะเติบโตที่ระดับ 5.0 ถึง 6.0% ต่อปี โดยมูลค่าการจำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาลเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละ +6.3% ในขณะที่การจำหน่ายผ่านร้านขายยา (OTC) เติบโตเฉลี่ยปีละ +5.0%

แนวโน้มการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นจากโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease) เรื้อรัง โดยโรคติดต่อที่มีสถิติการเจ็บป่วยสูงสุด คือ โรคท้องร่วง (Diarrhea) รองลงมา คือ ปอดอักเสบ (Pneumonia) และไข้เลือดออก (Dengue)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/phamaceuticals/io/io-pharmaceuticals-2023-2025 [2023, September 9].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Over-the-counter_drug [2023, September 9].