3. ตลาดยา – ตอนที่ 14
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 สิงหาคม 2566
- Tweet
ปัจจัยข้างต้นส่งผลต่ออุตสาหกรรมยา ดังนี้
- มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศ เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภทโดยยาเม็ด [Tablet] (ซึ่งมีสัดส่วน 5% ของมูลค่าจำหน่ายยาทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +18.1% จากปีก่อน, ยาน้ำ [Elixir] (ซึ่งมีสัดส่วน 22.9%) เพิ่มขึ้น+29.2% จากปีก่อน, ยาฉีด [Injection] (ซึ่งมีสัดส่วน 8.0%) เพิ่มขึ้น +5.2% จากปีก่อน, ยาแคปซูล [Capsule] (ซึ่งมีสัดส่วน 7.6%) เพิ่มขึ้น +4.5% จากปีก่อน, ยาครีม [Cream] (ซึ่งมีสัดส่วน 6.8%) เพิ่มขึ้น +13.0% จากปีก่อน, และยาผง [Powder] (ซึ่งมีสัดส่วน 5.3%) เพิ่มขึ้น +30.7% จากปีก่อน ในด้านกำลังการผลิต (Production capacity) ในอุตสาหกรรมยา เพิ่มขึ้นเฉลี่ย +60.0% จากเฉลี่ย +54.9% ในปี พ.ศ. 2564
- มูลค่าส่งออกยาเพิ่มขึ้น +13.2% จากปีก่อน อยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาทเป็นยารักษาโรคและอื่นๆ (ซึ่งมีสัดส่วน 95.6% ของมูลค่าส่งออกยาทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +23.3% จากปีก่อน และวัคซีน (ซึ่งมีสัดส่วน 4.4%) หดตัวลง -59.3% จากปีก่อน การส่งออกไปตลาด CLMV [= Cambodia, Laos, Myanmar, and Vietnam] (ซึ่งมีสัดส่วนรวมกัน 55.7% ของมูลค่าส่งออกยาทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +13.1% จากปีก่อน, มาเลเซีย (ซึ่งมีสัดส่วน 7.2%) เพิ่มขึ้น +59.4% จากปีก่อน, ญี่ปุ่น (ซึ่งมีสัดส่วน 5.7%) เพิ่มขึ้น +14.4% จากปีก่อน, และฟิลิปปินส์ (ซึ่งมีสัดส่วน 5.2%) เพิ่มขึ้น +32.2% จากปีก่อน สำหรับประเทศที่ซื้อวัคซีนจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ เมียนมา (เพิ่มขึ้น +800% จากปีก่อน) และกัมพูชา (เพิ่มขึ้น +272% จากปีก่อน)
- ขณะที่มูลค่านำเข้ายาเพิ่มขึ้น +7.0% จากปีก่อน อยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาทส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้บริษัทเอกชนผู้รับอนุญาตสามารถนำเข้า (Import) และจำหน่าย (Distribute) ยากลุ่มที่ใช้รักษาไวรัส COVID-19 [อันได้แก่ ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir), และยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)] ให้แก่โรงพยาบาลได้
นอกจากนี้ การนำเข้ายารักษาโรคและอื่นๆ (ซึ่งมีสัดส่วน 68.4% ของมูลค่านำเข้ายาทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +0.3% จากปีก่อน และวัคซีน (ซึ่งมีสัดส่วน 31.6%) เพิ่มขึ้น +25.0% จากปีก่อน ทั้งนี้ การนำเข้ายาโดยรวมจากประเทศหลัก อันได้แก่ เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, และฝรั่งเศส ซึ่งมีสัดส่วนรวมกัน 48.6% เพิ่มขึ้น +53.2% จากปีก่อน ขณะที่จีนลดลง -87.0% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงมากในปี พ.ศ. 2564
หากพิจารณาเฉพาะวัคซีน ไทยนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากเยอรมนี (ซึ่งมีสัดส่วน 29.4% ของมูลค่านำเข้าวัคซีนทั้งหมด) เพิ่มขึ้น +3,631.3% จากปีก่อน และสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมีสัดส่วน 28.3%) เพิ่มขึ้น +359.1% จากปีก่อน เป็นการนำเข้าวัคซีน (เช่น Moderna และ Pfizer) เพื่อป้องกันไวรัส COVID-19 ส่วนการนำเข้าวัคซีนจากจีน (ซึ่งมีสัดส่วนเหลือเพียง 1.1% จาก 50.0% ปี พ.ศ. 2564) ลดลงทั้งปริมาณ (-97.6% จากปีก่อน) และมูลค่า (-98.1% จากปีก่อน) ผลจากการเร่งนำเข้าวัคซีนจำนวนมากในปี พ.ศ. 2564
แหล่งข้อมูล –
- https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/phamaceuticals/io/io-pharmaceuticals-2023-2025 [2023, August 26].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Active_ingredient [2023, August 26].