3. ตลาดยา – ตอนที่ 13

ประเทศที่ไทยส่งออกวัคซีนเพิ่มขึ้นมากคือ อินโดนีเซีย (ซึ่งมีสัดส่วน 21.4% ของมูลค่าส่งออกวัคซีนของไทย จากเดิมมี สัดส่วนเฉลี่ยเพียง 5.0% ต่อปี) เพิ่มขึ้น +3,635%, รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น +1,388%, และเวียดนาม เพิ่มขึ้น +731% ส่วนด้านมูลค่านำเข้ายาเพิ่มขึ้น +58.7% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.16 แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเฉลี่ย 2.5% ต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ.2563

ผลจากราคาวัตถุดิบตัวยาสำคัญ (Active ingredients) ปรับเพิ่มขึ้นมาก พร้อมกับมีการนำเข้าวัคซีน (ซึ่งมีสัดส่วน 32.5% ของมูลค่านำเข้ายาทั้งหมด) เพิ่มขึ้นถึง +862% ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 3.8 หมื่นล้านบาท (ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563 ขยายตัวเฉลี่ย 7.9% ต่อปี) เช่น Sinovac และ AstraZeneca

อันที่จริง ไทยนำเข้ายา (รวมวัคซีนด้วย) จากจีน เพิ่มขึ้นมากกว่า +900% จากปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะการนำเข้าวัคซีนจากจีน (ซึ่งมีสัดส่วน 50.0% ของมูลค่านำเข้าวัคซีนทั้งหมด) เพิ่มขึ้นมากกว่า +3,000% จากปี พ.ศ. 2563

นอกจากนี้ ไทยนำเข้ายา +263.1% จากเบลเยี่ยม เนื่องจากเบลเยียมเป็นแหล่งผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ของ 3 บริษัท อันได้แก่ บริษัท Pfizer/BioNTech, บริษัท AstraZeneca, และบริษัท Curevac ส่วนการนำเข้ายาจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น +47.8% จากการนำเข้ายาฟาร์วิพิราเวีย (Favipiravir) สำหรับการนำเข้ายาจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น +42.3% และเยอรมนีเพิ่มขึ้น +35.4%

การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมยาเร่งตัวขึ้น สะท้อนจากโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุน (Investment promotion) ตามนโยบาย (Policy) ส่งเสริมการลงทุน (พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2565) ของภาครัฐในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวน 10 โครงการ มูลค่ารวม 1.87 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น +238.3% จากปี พ.ศ. 2563

ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 9 โครงการ มูลค่ารวม 1.6 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น +201.6% จากปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเกือบ 90% เป็นโครงการลงทุนผลิตยา (Pharmaceutical manufacturing)

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2565 การจำหน่ายยาในประเทศ (Domestic sales) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อันเป็นผลจาก . . .

  • จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมยังสูงถึง 45 ล้านคน (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน) โดยผู้ได้รับเชื้อบางส่วนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ขณะที่บางส่วนแยกกักตัวที่บ้าน (Home isolation) ทำให้ความต้องการยาประเภทลดการอักเสบ (Anti-biotics), แก้ไข้ (Fever), แก้ไอ (Cough), และเจ็บคอ (Sore throat), วิตามินและนานาสมุนไพร (Herb) ยังคงมีอยู่
  • การผ่อนคลายมาตรการควบคุมไวรัส COVID-19 ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and social activities) เริ่มทยอยกลับมา ส่งผลให้ประชาชนกลับมา (Return) รับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล
  • การเปิดประเทศ (Open-up) รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Foreign tourist) ซึ่งรวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Heath tourist) และผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารับการรักษาในไทย เพิ่มขึ้นหลังชะลอตัวในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/phamaceuticals/io/io-pharmaceuticals-2023-2025 [2023, August 12].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Active_ingredient [2023, August 12].