2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 48
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 30 ธันวาคม 2567
- Tweet
หากเอ่ยถึงนวัตกรรม (Innovation) หลายคนคงนึกถึงสิ่งประดิษฐ์ (Invention) หรือผลงานต่างๆ ที่มีความทันสมัย (Sophisticated) เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย (State-of-the art) อันแสดงให้เห็นถึง ความก้าวหน้า (Advancement) ในองค์ความรู้ (Body of knowledge) ของผู้คิดค้น (Inventor)
แต่ทว่าในช่วงทศวรรษ (Decade) ที่ผ่านมา กลับพบว่า มีนวัตกรรมหลายชิ้นที่ถูกผลิตคิดค้นขึ้นมา ด้วยแนวคิด (Concept) ที่แตกต่าง (Difference) ออกไป นั่นคือ ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อสร้างสิ่งที่แสดง (Portray) ถึงความล้ำสมัย
แต่เป็นการย้อนกลับไปให้ความสำคัญในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่จะมารองรับกิจกรรมต่างๆ ในวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและสะดวก (Convenience) สบายมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแส (Trend) เกี่ยวกับสังคมสูงวัยที่กำลังได้รับความสนใจ (Interest) เป็นอย่างมากในปัจจุบัน ก็ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมเฉพาะ (Specific) เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของผู้สูงอายุขึ้นมา
มีการวางจำหน่าย (Distribution) นวัตกรรมเหล่านี้ให้ผู้สูงอายุและครอบครัว ได้เลือกซื้อไปใช้เพื่ออำนวยความสะดวกตามความต้องการของแต่ละคน (Individual requirement) ดังต่อไปนี้
- ช้อนแก้มือสั่นของผู้สูงอายุ
หนึ่งในปัญหาที่ผู้สูงอายุหลายท่านประสบอยู่คือ การมีอาการมือสั่น (Tremor) ซึ่งนั่นรวมถึงเวลาที่ต้องรับประทานอาหารด้วย ด้วยเหตุนี้เอง Liftware Spoon จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหามือสั่นใช้ช้อนดังกล่าว
วัตถุประสงค์คือการช่วยให้ตักอาหารเข้าปาก โดยสั่น (Shake) น้อยลงจนไม่เป็นปัญหา ช้อนนี้ใช้เทคโนโลยี Active Cancellation of Tremor ซึ่งมีการโฆษณาว่าสามารถลดอาการ สั่นได้สูงถึง 70%
- นาฬิกาอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ
ขณะที่นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) กำลังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม (Popular) ในหมู่คนหนุ่มสาว (Youngster) และคนทำงาน (Working force) เพื่อตอบโจทย์ด้านเทคโนโลยี “นาฬิกาอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ” (Elderly) ก็ถูกผลิตขึ้นมา เช่นเดียวกัน
แต่จะมีลักษณะพิเศษ (Characteristics) กว่าตรงที่มีระบบติดตามตัว (Monitoring) โดยตัวนาฬิกาจะส่งตำแหน่งผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต (Global position system: GPS) ให้ผู้ดูแลได้ตรวจสอบผ่านตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: APP) และสามารถกำหนดเขตพื้นที่ปลอดภัย (Safety area)
หากผู้สูงอายุออกไปนอกพื้นที่ที่กำหนด (Designated) ระบบจะทำการเตือน (Warning) ไปยังผู้ดูแล (Carer) ทันที นอกจากนี้ยังมีระบบการขอความช่วยเหลือ (Help) และไมโครโฟนในตัวทำให้ผู้ดูแลสามารถฟังเสียงของผู้สูงอายุได้ตลอด (All-time) ซึ่งจะช่วยให้การดูแลผู้สูงอายุ ทำได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล –
- https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20172404121710_1.pdf [2024, December 29].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Innovation [2024, December 29].