2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 47

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล (Award) การเคหะแห่งชาติได้นำมาพัฒนาเป็นต้นแบบ (Prototype) ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ แบบบ้านทั้งหมดจะจัดทำเป็นพิมพ์เขียว (Blueprint) พร้อมปลูกสร้าง (Build) ได้โดยไม่ต้องไปยื่นขออนุญาต (Permit) ใดๆ อีก แบบบ้านฟรีพร้อมปลูกให้ผู้สูงอายุของการเคหะแห่งชาตินี้ โดยได้ให้ประชาชนใช้จริงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560

ในกรณีผู้มีรายได้สูง (High-income earners) มีบริษัทเอกชน (Private) หลายแห่งให้ความสนใจในธุรกิจด้านที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น SCG -SCG Elder Care Solution, บ้านผู้สูงอายุ โครงการ Wellness City อำเภอบางไทร จังหวัดอยุธยา, โครงการวิลล่ามีสุข จังหวัดเชียงใหม่, โครงการริมลิฟวิ่ง จังหวัดนครราชสีมา โดยโครงการดังกล่าวเป็นการจัดสรรที่พักอาศัยให้สำหรับผู้มีรายได้สูง และมีการก่อสร้าง (Construction) ในพื้นที่เขตเมืองใหญ่

ลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุควรเป็นเช่นไร

ลักษณะพิเศษ (Characteristics) ของที่อยู่อาศัยที่มีเป้าหมายที่กลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะมีการปรับใช้หลัก (Application) หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal design) หรือ เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Elderly friendly) ทั้งสภาพแวดล้อม (Environment), สถานที่, และสิ่งของเครื่องใช้ให้สามารถรองรับการใช้งานตามลักษณะทางกายภาพ (Physical) ของผู้สูงอายุ ซึ่งมีหลักการ 7 ข้อ ดังนี้

  • ความเท่าเทียมกันในการใช้สอย (Equitable use) ของผู้ใช้ที่ต่างวัย และต่างความสามารถ
  • ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ (Flexibility in use)
  • ใช้งานง่ายและสะดวก (Simple and intuitive use)
  • การสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจ (Perceptible information) มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
  • ทนทานต่อการใช้ผิดพลาด (Tolerance for error)
  • ไม่ต้องออกแรงมาก (Low physical effort)
  • มีขนาด และพื้นที่ที่เหมาะสมที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Size and space for approach and use)

โดยในช่วงที่ผ่านมานอกจากหน่วยงานที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ยังพบว่า มีการพัฒนาโครงการต้นแบบ (Prototype) สภาพแวดล้อมด้านที่อยู่อาศัย (Residential) ที่เหมาะสม (Appropriate) กับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ (Quality) ขึ้น โดยการริเริ่มภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [Thai Health Promotion Fund] และ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) [Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute]

ขณะเดียวกันหลาย หน่วยงานได้มีการพัฒนาวัสดุทางเลือก (Alternative material) สำหรับจัดสภาพแวดล้อม, สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ที่เหมาะสม (Appropriate) และปลอดภัย (Safety) สำหรับผู้สูงอายุ เช่น อุปกรณ์ช่วงพยุงตัว (Support equipment) เช่น ราวจับ (Handrail) และไม้เท้า (Walking stick) เป็นต้น

อุปกรณ์ในห้องน้ำ (Toilet equipment) เช่น เก้าอี้นั่ง (Bench), อาบน้ำ (Shower), ที่พิงหลัง (Back-rest), เก้าอี้นั่งถ่าย (Commode chair) สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ, และโถสุขภาพ (Health jar) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางเลือก (Alternative equipment) ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้รองรับกับความต้องการ (Requirement) ของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น 

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledge_th_20172404121710_1.pdf [2024, December 15].
  2. https://www.nha.co.th/homepage/ [2024, December 15].