2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 34

อาหารสุขภาพ (Health food) เช่น อาหารอินทรีย์ (Organic) หรืออาหารจากธรรมชาติ (Natural) เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ (Potential) ในตลาดจีน แม้ปัจจุบันตลาดอาหารสุขภาพในจีนยังอยู่ในระยะเริ่มต้น (Initial) แต่ คาดว่าอีกไม่นานผู้สูงอายุในจีนจะหันมาใส่ใจกับคุณภาพ (Quality) อาหารมากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารสุขภาพ รวมถึงอาหารจากธรรมชาติในจีนขยายตัวเช่นที่เกิดขึ้น

ศูนย์วิจัยธนาคาร Credit Suisse คาดว่า ในประเทศพัฒนาแล้ว มูลค่าตลาด (Market value) อาหารจากธรรมชาติ ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า (Near future) จะขยายตัวมากกว่า 7% ต่อปี โดย มีมูลค่าแตะระดับ 3.4 แสนล้านหยวน (ราว 4.98 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ [ประมาณ 1.765 ล้านล้าบาท]) หรือราว 20% ของ มูลค่าตลาดอาหารจากธรรมชาติของโลก (Global market)

เมื่อประกอบกับการที่ชาวจีนมักไม่มั่นใจ (Confidence) ในคุณภาพอาหารที่ผลิตในประเทศ ชาวจีนที่มีกำลังซื้อ (Purchasing power) จึงมักเลือกซื้ออาหารคุณภาพสูง (Premium) จากต่างประเทศมากกว่า

EU เป็นแหล่งนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 1 ของโลก ด้วยสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่านำเข้า (Import value) อาหารสัตว์เลี้ยงโลก และเป็นตลาดส่งออก (Export market) อาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 3 ของไทย ด้วยมูลค่าเกือบ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8,860 ล้านบาท)

ในปี พ.ศ. 2562 สินค้าสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งอาหารอินทรีย์ อาหารที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ โดยที่เวชภัณฑ์ (Medical supplies) เช่น ถุงมือยาง (Medical glove), หลอดฉีดยา (Syringe) และเข็มฉีดยา (Injection needle)

นอกจากสินค้าดังกล่าวแล้ว บริการของไทยที่มีโอกาส (Opportunity) จากตลาดผู้สูงอายุชาว EU ได้แก่ที่พักแบบอยู่ยาวนาน (Long stay) หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) ซึ่งผู้สูงอายุ ชาว EU อาจมาอาศัยอยู่ตลอดทั้งปีหรือ 6 เดือน หรืออย่างน้อยมาอยู่คราวละหลายๆ เดือน

อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุซึ่งผู้ประกอบการ (Entrepreneur) อาหารของไทย มีศักยภาพ (Potential) และมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ ด้านอาหารอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ไทยยังมีข้อได้เปรียบที่ควบคุม (Control) การแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ได้ดี ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ (Confidence) ในความปลอดภัยของอาหารจากไทยเพิ่มขึ้น

นอกจากสินค้าแล้ว บริการของไทยที่มีโอกาสจากตลาดผู้สูงอายุชาวจีน ได้แก่ โรงพยาบาลเอกชน ทั้งการรับบริหารโรงพยาบาลในจีน หรือการเปิดให้ผู้สูงอายุชาวจีนเดินทางมารับการรักษาในประเทศไทย รวมถึงบริการการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) อย่างการนัดพบแพทย์เพื่อติดตามอาการผ่านการประชุมออนไลน์ (Video-conference) หรือการให้อุปกรณ์ติดตามผล (Tracking) เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านสุขภาพ

ผู้บริโภคในวัยสูงอายุนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังทวีความสำคัญ (Increasingly important) ทั้งจากจำนวน (Quantity) ที่เพิ่มขึ้นและจากอำนาจการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากกำลังละเลย (Neglect) ผู้บริโภคกลุ่มนี้ เนื่องจากคนส่วนมากมักติดภาพ (Perceive) ว่าผู้สูงอายุจะต้องมีสุขภาพไม่แข็งแรง (Unhealthy), มีอาการเจ็บป่วยทางกาย (Physical illness), เคลื่อนไหวไม่สะดวก (Immobility) และมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง (Disability) อย่างเห็นได้ชัด จึงมักนึกภาพ (Imagine) สินค้าหรือบริการสำหรับผู้สูงอายุเป็นสินค้าหรือบริการที่เกือบจะกลุ่มเดียวกับ

 แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, June 16].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, June 16].