2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 33

หลายประเทศในสหภาพยุโรป (European Union: EU) จ่ายเงินบำนาญ (Pension) ให้ผู้สูงอายุ (Elderly) ค่อนข้างสูง เช่น เยอรมนี ที่จ่ายเงินบำนาญให้ผู้สูงอายุรวมกว่า 2.95 แสนยูโร (ประมาณ 11.5 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2561

ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (Necessary) ในการดำรงชีวิต (Living expense) เช่น ค่าอาหาร, เครื่องดื่ม, และที่พักอาศัย) มีสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของรายได้ (Income) ทำให้ผู้สูงอายุในเยอรมนี มีเงินเหลือสำหรับจับจ่ายใช้สอยด้านอื่นๆ เช่น การเดินทางท่องเที่ยว (Travel), การพักผ่อน, และสันทนาการ (Recreation) ได้ตามต้องการ

ผู้สูงอายุใน EU นิยมเดินทางไปพำนักในต่างประเทศในฤดูหนาว (Winter) เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศหนาว (Cold weather) ซึ่งมักมีผลต่อร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น อาการปวด (Pain) ตามข้อ (Joint) หรือตามกระดูก (Bone) โดยมักอาศัยในประเทศที่มีอากาศอบอุ่น (Warm weather) โดยเฉพาะประเทศที่ชาดหาดติดทะเล (Sea beach) กิจกรรมที่ผู้สูงอายุชาว EU นิยมมาก คือ การอาบแดด (Sun bath)

ทั้งนี้ ในประเทศไทยก็มีหลายพื้นที่ที่ผู้สูงอายุชาว EU นิยมมาพัก เช่น จ. เชียงใหม่ (จากหลายประเทศ), ส่วน ต.ห้วยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็มีผู้สูงอายุ ชาวสวีเดนนิยมหนีหนาวมาอาศัยอยู่ปีละ 5 - 6 เดือน, รวมถึง อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ที่มีที่พักที่รับรองผู้สูงอายุ จากสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนี

ผู้บริโภคใน EU รวมถึงผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ (Health care) อย่างกลมกลืนกับวิถีธรรมชาติ (Nature) โดยให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหาร, การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ, และการออกกำลังกาย (Physical activity)

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้สูงอายุใน EU จะทราบว่ายาแผนปัจจุบัน (Modern medicine) มีประสิทธิผล (Efficacy) ในการรักษาโรคที่แน่นอน และเชื่อถือได้ แต่ผู้สูงอายุในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety) และผลข้างเคียง (Side effect) ของยาแผนปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพร (Herb) หรือ สารสกัด (Extract) จากสมุนไพรในการรักษาโรค

ผู้สูงอายุชาวจีนมีแนวโน้ม (Trend) จะซื้อประกันสุขภาพ (Health insurance) และประกันบำนาญ (Pension) มากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้สูงอายุ ชาวจีนในปัจจุบันมีฐานะดีขึ้น สังเกตจาก GDP (= Gross domestic product หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ต่อหัวต่อปี ของจีนเพิ่มขึ้นจากราว 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 73,500 บาท) เป็นกว่า 10,000 ดอลลาร์ สหรัฐ (ประมาณ 350,000 บาท) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

การขยับช่วง (Range) รายได้ขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง (Middle-class) ทำให้ผู้สูงอายุชาวจีนสนใจทำประกันสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับต้องการทางเลือก (Alternative) เพิ่มเติมจากระบบประกันสุขภาพ (Health security) ของภาครัฐ ซึ่งจากผลสำรวจ (Survey) ระบุว่า มีชาวจีนชั่วอายุคนเด็กเกิดมาก (Baby Boomer) ถึง 39% ที่เห็นว่าระบบประกันสุขภาพของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ (Demand) ด้านสุขภาพของตน

ผู้สูงอายุชาวจีนมีความต้องการบริการทางการแพทย์ (Medical service) ระดับบน (High-end) มากขึ้น สังเกตจากรายได้ ของโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ที่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ (Public hospital) กว่าเท่าตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ชาวจีนยังต้องการเข้าถึง (Access) การรักษาพยาบาลขั้นสูงหรือการรักษาแผนปัจจุบันมากขึ้น เช่น การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary implants and stents) ซึ่งเป็นบริการที่ไทยมี ศักยภาพ จึงอาจมีผู้สูงอายุชาวจีนต้องการเดินทางมาเพื่อตรวจสุขภาพหรือรับการรักษาพยาบาลในไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, June 2].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, June 2].