2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 32
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 พฤษภาคม 2567
- Tweet
นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศซึ่งมีสัดส่วน (Proportion) ประชากร ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปสูงที่สุดในโลก จึงต้องการ อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยว (Chew) เช่น อาหารอ่อน (Soft), อาหารเจล (Gel), และอาหารข้น (Condensed) เพิ่มขึ้นด้วย
ชาวญี่ปุ่นเข้ามาพักแบบอยู่ยาวนาน (Long stay) ในไทยมากขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพ (Cost of living) ในญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูง แม้เงินบำนาญ (Pension) ที่ชาวญี่ปุ่นได้จากรัฐบาลจะถือว่าสูงเมื่อเทียบเป็นเงินไทย แต่จากค่าครองชีพในญี่ปุ่น และค่าประกันสุขภาพ (Health insurance) ที่เรียกเก็บเบี้ยประกัน (Premium) แพงขึ้นตามอายุ ทำให้รายได้ที่ได้รับจริง (Real income) ลดลง
นี่เป็นปัจจัย (Factor) ที่อาจกระทบ (Impact) ต่อการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ (Living condition) ผู้สูงอายุบางส่วนจึงเลือกที่จะออกไปพำนักระยะยาว ในต่างประเทศที่มีค่าครองชีพถูกกว่า รวมถึงประเทศไทยด้วย
ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นดูแลสัตว์เลี้ยง (Pet) ของตนเหมือนสมาชิกในครอบครัว แม้จำนวนสัตว์เลี้ยงในญี่ปุ่นมี ไม่มากเท่าในสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป (European Union: EU) โดยปัจจุบันญี่ปุ่นมีประชากรสุนัขและแมว รวมกันเพียงราว 20 ล้านตัว
แต่ชาวญี่ปุ่นที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็รักสัตว์เลี้ยงของตนมาก และดูแลสัตว์เลี้ยงของตนดีเทียบเท่ากับสมาชิกในครอบครัว (Family member) จึงนิยมซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงระดับดี (Premium) เช่นเดียวกับอาหารของตนเอง ญี่ปุ่นจึงมีมูลค่านำเข้า (Import value) อาหารสัตว์เลี้ยงสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก
ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 2 ของไทย ด้วย สัดส่วน 17.7% หรือราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,500 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2562
อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ผัก-ผลไม้สดแบบธรรมชาติ (Organic), ผัก-ผลไม้บดละเอียด (Finely ground) สำหรับเป็นส่วนประกอบอาหาร, ไก่แปรรูป (Processed chicken) ที่ใช้วัตถุดิบจากไก่ที่ถูกเลี้ยงตามธรรมชาติ, และน้ำมันมะพร้าว (Coconut oil) สกัดเย็น (Cold pressed)
นอกจากนี้ เวชภัณฑ์ (Medical supplies) ของไทย เช่น เข็มฉีดยา (Injection needle), หลอดฉีดยา (Syringe), และถุงมือยาง (Medical glove) ได้ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1, 2 และ 3 (ตามลำดับ) ของไทย
ส่วนที่พักแบบอยู่ยาวนาน หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) โดยอาศัยจุดแข็ง (Strength) จากค่าครองชีพ (Cost of living) ในไทยที่ถูกกว่าในญี่ปุ่น และความโอบอ้อมอารี (Generosity) ของคนไทย ทำให้ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นใช้ชีวิตในไทยได้อย่างราบรื่น (Happy living)
EU เป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว (Single living) สูงที่สุดในโลก จากข้อมูลของศูนย์วิจัยระดับสากล Pew Research ในปี พ.ศ. 2563 พบว่าสัดส่วนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่คนเดียวใน EU สูงถึง 28% ของประชากรวัยเดียวกันทั้งหมด
ผู้สูงอายุเหล่านี้จึงอาจเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (Pet) ไว้เป็นเพื่อน โดย EU มีประชากรสัตวเลี้ยง (Pet population) แมวทั้งหมด 106.4 ล้านตัว และสุนัข 87.5 ล้านตัว ในปี พ.ศ. 2562 จึงนับเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยที่จะส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปยัง EU
แหล่งข้อมูล –