2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 29

ผลสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศในเรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ (National Poll on Healthy Aging) ของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2561 ระบุ (Identify) ว่าผู้มีอายุระหว่าง 50 ถึง 80 ปี เกินกว่า 50% เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคลาย (Relieve) เหงา (Loneliness) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ (Elderly) ที่อาศัยอยู่คนเดียว ซึ่งมีถึง 72% ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงช่วยให้ตนเองรับมือ (Handle) กับอาการผิดปกติ (Disorder) ทางร่างกายและอารมณ์ได้ดีขึ้น

ไวรัส COVID-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) เป็นตัวเร่ง (Accelerate) ให้ผู้สูงอายุ หันมาใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพ (Health-care technology) มากขึ้น ในประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) นอกจากจะมีความต้องการ (Demand) บริการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุแล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือการขาดแคลน (Shortage) บุคลากรด้านสาธารณสุข (Public health professional) ไม่ว่าจะเป็นแพทย์, พยาบาล, หรือเจ้าหน้าที่ที่ช่วยดูแลผู้ป่วย

ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องพึ่งพา (Depend) เครื่องมือหรือเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อช่วย หรือทดแทน (Replace) เจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine), บริการให้คำปรึกษาออนไลน์ (On-line consultant), รวมถึงการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล (Digital gadget) ต่างๆ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care)

ที่ผ่านมาผู้สูงอายุบางส่วนยังมีปัญหาในการเริ่มใช้เทคโนโลยี เพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่เข้าใจ แต่การระบาด ของไวรัส COVID-19 และการปิดตาย (Lock-down) ในหลายพื้นที่ ได้เร่งให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม (Platform) หรือเครื่องมือต่างๆ เพิ่มขึ้น ในการช่วยเหลือ (Assist) และดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง (High risk) ต่อการติดเชื้อ COVID-19

จุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการออกนอกบริเวณบ้านหรือ การไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยหันมาสนใจใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตัวอย่างในกรณีของสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนา Platform ชื่อ “Zoomers to Boomers”

Platform นี้ ทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunity deficiency) และเสี่ยงติดเชื้อ สามารถสั่งซื้ออาหารหรือสินค้าที่จำเป็น (Necessity) ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน (Daily life) ได้ โดยมีอาสาสมัคร (Volunteer) วัยหนุ่มสาวช่วยไปซื้อและนำไปส่งให้ที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) สำหรับผู้สูงอายุ (ทั้ง App. สุขภาพ และด้านอื่นๆ) ควรออกแบบ (Design) ให้ใช้งานได้ง่ายและไม่ซับซ้อน เช่น Taobao ของจีน ได้พัฒนา App. ให้ผู้สูงอายุใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยให้ ผู้ใช้เพิ่มขนาด (Size) ของตัวอักษรและรูปภาพได้

รวมทั้งทำทางลัด (Shortcut) สำหรับงาน (Function) ที่ผู้สูงอายุมักใช้บ่อยๆ หรือ การที่ผู้สูงอายุสามารถติดต่อกับสมาชิกในครอบครัว (Family member) ของตนเองได้เพียงแค่คลิก (Click) ที่รูปของผู้ที่ต้องการคุยด้วย

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization) หากพิจารณาในแง่จำนวนพบว่าผู้สูงอายุส่วนมากอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย (57.8% ของประกชากรผู้สูงอายุทั่วโลก [Global elderly population]) รองลงมา คือ ยุโรป (18.3%) โดยประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด คือ จีน 249.8 ล้านคน (23.8% ของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก) รองลงมา คือ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลงลึก (Deep down) พบว่าหลายประเทศยังมีสัดส่วน (Proportion) ผู้สูงอายุไม่มากนัก

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, March 22].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, March 22].