2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 28

“สุขภาพจิต (Mental health) ที่ดี” เป็นประเด็นที่ผู้สูงอายุ (Elderly) ให้ความสำคัญมากขึ้น ที่ผ่านมาเมื่อเอ่ยถึงคำว่า “สุขภาพดี” คนส่วนมากมักคิดถึงการไม่มีอาการเจ็บป่วย (Sickness) ทางร่างกาย รวมถึงการมีรูปร่าง-ผิวพรรณ (Body shape-complexion) ที่ดีเท่านั้น

แต่ในช่วง 2 ถึง 3 ปีหลัง มุมมองต่อคำว่า “สุขภาพดี” ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยคนส่วนมาก ซึ่งรวมถึงคนในรุ่น Baby Boomer (ผู้ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง 2507) อันเป็นกลุ่มที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ หรืออยู่ในวัยสูงอายุอยู่แล้ว หันมาให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดี (Mental well-being) มากขึ้น

ผู้สูงอายุในปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพองค์รวม (Holistic) และไม่ได้ต้องการเพียงแค่ให้ตนเอง “ดูดี” (Look good) เท่านั้น แต่ยังต้องการให้ตนเอง “รู้สึกดี” (Feel good) อีกด้วย ซึ่งการมีสุขภาพจิตที่ดีหมายถึงทั้งความรู้สึกผ่อนคลาย (Relaxation), ความสงบ (Peacefulness), ความมั่นใจ (Assurance), หรือความเชื่อมั่น (Confidence) ในตนเอง

คนส่วนมากจะเน้นที่การใช้เวลา เพื่อทำกิจกรรม (Activity) ที่ทำให้รู้สึกมีคุณค่า (Valuable) หรือช่วยให้เกิดความสุข (Happiness) ทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว, การออกกำลังกาย (Exercise), รวมถึงการนอนหลับให้เพียงพอ (Adequate) โดยทั่วไป ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่นอนตื่นกลางดึก (Middle insomnia) บ่อยแต่อาจกลับไม่รู้สึกว่ามีปัญหาด้านการนอน (Insomnia)

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัย (Factor) ที่ผู้สูงอายุเห็นว่าเป็นองค์ประกอบ (Component) ของการมีสุขภาพดี ซึ่งจากผลสำรวจ (Survey) ของ Euromonitor [บริษัทวิจัยการตลาดระดับสากล] พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้สูงอายุส่วนมากเห็นว่าพฤติกรรม (Behavior) การนอนตื่นบ่อย หลับไม่ลึก (Shallow sleep) เป็นเรื่องปกติ

เหตุที่มิได้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เพราะยังรู้สึกสดชื่น (Fresh) ยามตื่นเป็นปกติ ต่างจากคนอายุน้อย (Younger) ที่แม้จะนอนได้นานกว่าโดยไม่ตื่นขึ้นมากลางดึก แต่มักจะยังรู้สึกเหนื่อย (Tired), นอนไม่พอ (Insufficient) หรือไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน คนอายุน้อยจึงรู้สึกว่าการนอนเป็นปัญหาของตนเอง มากกว่าผู้สูงอายุ

ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ช่วยเรื่องการนอน (Sleep aid) เช่น อาหารเชิงสุขภาพ (Functional food) ที่ช่วยให้ง่วงนอน (Sleepy), นอนหลับสนิทขึ้น (Sound sleep), หรือนาฬิกาวัดคุณภาพการนอน (Sleep tracker) ต้องเข้าใจว่าผู้สูงอายุส่วนมากไม่ใช่กลุ่มที่สนใจสินค้า/บริการ ดังกล่าว และมักมองว่าสินค้า/บริการกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ “มีก็ดี” แต่ “ไม่จำเป็นต้องมี” (Unnecessary) ก็ได้

การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (Pet) ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว เนื่องจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวในปัจจุบันมีเพิ่มขึ้น จึงมีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยคลาย (Relief) เหงา (Loneliness) ทำให้รู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่าและมีเป้าหมาย (Goal) ในการดำรงชีวิต

นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงยังมีส่วนทำให้ผู้สูงอายุมีสังคมใหม่ๆ จากการที่ต้องพาสัตว์เลี้ยงไปทำกิจกรรมนอกบ้าน (Out-door) เช่น เดินเล่น, อาบน้ำ, หรือตัดขน ในขณะเดียวกัน เมื่อต้องดูแลสัตว์เลี้ยง (Pet care) เช่น การให้อาหารสัตว์เลี้ยงตามเวลา ก็ทำให้ผู้สูงอายุหันมาใส่ใจกับการดูแลตนเอง (Self-care) มากขึ้นตามไปด้วย การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงจึงส่งผลดี ต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเอง

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, March 8].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, March 8].