2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 27

ตลาดสุขภาพผู้สูงอายุ โอกาสของสินค้าและบริการไทย

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งหมายถึงการมี ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ แนวโน้ม (Trend) การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ (Elderly) ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก (World’s population)

ปัจจุบันประชากรสูงอายุของโลกกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuously growing) ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ระบุว่าจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 515.2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 702.9 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2562

เป็นที่คาดการณ์กันว่า สัดส่วน (Proportion) ของประชากรโลกที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 9.1% ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 11.7% ในปี พ.ศ. 2573 และ 15.9% ในปี พ.ศ. 2593 ผู้สูงอายุจึงเป็นผู้บริโภค (Consumer) กลุ่มที่น่าสนใจ เพราะเป็นกลุ่มที่มีขนาด (Size) ใหญ่และกำลังขยายตัว (Expanding)

อีกทั้งรายได้เฉลี่ย (Average income) ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (Relatively high) เมื่อเทียบกับประชากร ในช่วงอายุต่างๆ เพราะอยู่ในวัยที่มีทรัพย์สินเก็บสะสมไว้ (Wealth accumulation) ตลอดช่วงชีวิตการทำงานที่ผ่านมา และส่วนมากหมดภาระ (Burden) ในการผ่อนบ้าน (Mortgage) หรือสินทรัพย์ต่างๆ แล้ว

อีกทั้งหลายประเทศ ยังเก็บภาษี (Tax collection) จากผู้สูงอายุในอัตราต่ำกว่าวัยอื่น หรือมีสวัสดิการต่างๆ (Welfare) ให้ผู้สูงอายุ เช่น การมีส่วนลด (Discount) หรือยกเว้น (Exempt) ค่าโดยสาร ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้เงินที่ ได้มาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า ผู้สูงอายุจึงมีอำนาจในการใช้จ่าย (Purchasing power) สูง

นอกจากนี้ ยังคาดว่ารายได้เฉลี่ยของผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นถึง 38% จากปี พ.ศ. 2563 เป็นปีละ 21,811 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 763,385 บาท) ในปี พ.ศ. 2583 เมื่อประกอบกับการที่ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกษียณ (Retire) จากงานแล้วจึงมีอิสระ (Independence) และ สามารถใช้เวลาทำกิจกรรม (Activity) ที่ตนเองสนใจได้อย่างเต็มที่ ผู้สูงอายุจึงนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคในอุดมคติ (Ideal) ของธุรกิจทั่วโลก ซึ่งผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ไทยไม่ควรพลาดที่จะเจาะตลาด (Market penetration) ผู้บริโภคกลุ่มนี้

แนวทางรุกตลาดสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ

ระยะสั้น : เปิดตลาดจากสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ (Potential) อยู่แล้ว เช่น เวชภัณฑ์ (ถุงมือยาง [Glove] หลอดฉีดยา [Syringe]), อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food), บริการทางการแพทย์ (Medical service), ที่พัก (Residence) และสถานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care)

ระยะยาว : พัฒนาสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึง 3 C’s คือ

Cozy – ผู้สูงอายุยุคใหม่ต้องการพักผ่อน (Recreation) - หาความสุขหลังเกษียณ

Care – สินค้า/บริการของผู้สูงอายุ คือสินค้าปกติที่ใส่ใจในรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น อาหารซองเล็ก (Sachet) หรือห้องน้ำที่มีราว

          จับ (Hand-rail)

Creative – ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการออกแบบ (Design) สินค้าให้ดูเหมือนสินค้าปกติ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุรู้สึก

          แปลกแยก

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, February 23].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, February 23].