10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 54

  • ปรับลดผลตอบแทนสำหรับแบบประกันที่รับรองการจ่าย (Guaranteed benefit) เช่น ประกันสะสมทรัพย์ที่dกำหนดอัตราผลตอบแทนตลอดสัญญาไว้
  • ขยายผลิตภัณฑ์ประเภทมีส่วนร่วมในเงินปันผล (Participating product) ผลิตภัณฑ์หน่วยเชื่อมโยง (Unit linked) และชีวิตถ้วนหน้า (Universal life) เพื่อให้บริษัทรับความเสี่ยงด้านประกันภัย (Insurance risk) เป็นหลัก ขณะที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นทางเลือกสำหรับคนรุ่นใหม่ (New generation) ที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการทรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น โดยสามารถเลือกนโยบายการลงทุน (Investment policy) ที่สอดคล้องกับความต้องการ

3. ปัจจัยท้าทาย 

โครงสร้างประชากรสูงวัย (Elderly) มีสัดส่วนสูง (Proportion) ขึ้นทุกปีขณะที่อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical inflation) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 ถึง 10% ต่อปี ซึ่งทำให้ประกันสุขภาพ (Health insurance) และโรคร้ายแรง (Severe) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาส (Opportunity) ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการขยายช่วงอายุของการรับประกันสุขภาพจากเดิมไม่เกิน 60 ปี เป็น 80 ปี

การปรับตัวของบริษัทประกัน 

  • ขยายตลาดสัญญาประกันสุขภาพต่อเนื่อง (Continuing) ร่วมกับการเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ด้านการบริหารเรียกร้องสินไหม (Indemnity claim) เพื่อควบคุมต้นทุน (Cost0 และควบคุมอัตราเบี้ยประกัน (Premium) ไม่ให้แพงขึ้น สอดคล้องกับกำลังซื้อ (Purchasing power) และรายได้ (Income) ของผู้บริโภค
  • แนวทาง (Guideline) การเรียกร้องสินไหมในระยะต่อไป อาจมีเงื่อนไข (Condition) เพิ่มขึ้น ซึ่งแม้จะช่วยควบคุมต้นทุน แต่อาจกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้แรงจูงใจ (Incentive) ในการซื้อประกันสุขภาพลดลง ตัวอย่างเช่น ข้อกำหนด (Requirement) เกี่ยวกับการเคลมการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด และ ข้อกำหนดการรับประกันแบบมีเงื่อนไขให้ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป โครงสร้าง (Structure) ธุรกิจประกันชีวิตมาถึงจุดเปลี่ยน (Turning point) ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฐานลูกค้า (Customer base) รายหลัก (Primary) ซึ่งไม่อาจผูกติดกับลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกินไป ดังเช่นในอดีต ที่อาจผลักดัน (Drive) การเติบโตได้ ด้วยการระดม (Mobilize) ยอดขายประเภทจ่ายครั้งเดียวในกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง

แต่จำเป็นต้องขยาย (Expand) ฐานลูกค้าไปยังกลุ่มที่มีรายได้รองลงมา (Secondary) ท่ามกลางข้อจำกัด (Limitation) ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (Economic recovery) ที่กดดัน (Pressure) อำนาจซื้อ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกันยังสามารถต่อยอดการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะมิติ (Aspect) ที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองและประกันสุขภาพ

นอกจากนี้ บริษัทประกันภัยยังต้องเน้น (Emphasize) การบริหารต้นทุน (Cost), การปรับผลิตภัณฑ์ให้เบี้ยเข้าถึงได้ (Affordable) มากขึ้น ตลอดจนเพิ่มการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ในการเข้าถึงลูกค้าและสามารถนำไปสู่การตัดสินใจซื้อได้ด้วยขั้นตอน (Procedure) ที่ลดลง

แหล่งข้อมูล -

  1. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Life-Insurance-CIS3538-FB-12-12-2024.aspx [2025, April 1].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Health_insurance_marketplace [2025, April 1].