10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 36

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการนำเสนอขาย (Sales presentation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operating efficiency) และยกระดับ (Raise) ในการสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction) และความเชื่อมั่นของผู้เอาประกันภัย (Insured person) ให้มากขึ้น

การสร้างองค์ความรู้ (Body of knowledge) เรื่องการป้องกัน (Prevention( และรู้เท่าทันเทคโนโลยีให้แก่ประชาชน รวมถึงการดำเนินงานเชิงรุก (Proactive) ในการขอปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ (Rules-and-regulations improvement) ให้เป็นปัจจุบัน (Up-to-date), และการผลักดัน (Drive) ระบบการจัดสอบความรู้

นอกจากนี้ การออกใบอนุญาตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic license) และระบบอำนวยความสะดวก (Facilities) ต่างๆ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ (Publicity) เชิงรุก เพื่อให้บริษัทสมาชิก (Member) และบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable) มีการแข่งขันอย่างเสรี (Free competition) ภายใต้ธรรมาภิบาล (Governance) และการดูแลของหน่วยงานกำกับ (Supervision)

นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ที่สำคัญ สมาคมประกันชีวิตไทย มีนโยบาย (Policy) ที่มุ่งให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต จะต้องมีการดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk) รอบด้าน (Well-rounded) ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย . . .

. . . และมีฐานะทางการเงินที่มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่กำหนด (Supervisory CAR) เพียงพอต่อการปฏิบัติตามภาระผูกพัน (Obligation) ของกรมธรรม์ประกันภัย (Insurance policy) ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย . . . 

. . . และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา ดังจะเห็นได้จาก ใน ไตรมาสที่ 1/2566 จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (= คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบกิจประกันภัย) ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนตามความเสี่ยง อยู่ที่ 385% ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่ใช้ในการกำกับ (Supervisory CAR) . . .

. . .จึงขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่านเชื่อมั่น (Confident) ว่าธุรกิจประกันชีวิตมีความมั่นคง (Secure), แข็งแกร่ง (Solid), และยึดมั่นคำสัญญา (Commitment) ตามข้อผูกพันในกรมธรรม์ประกันชีวิต ในทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย”

ในอีกวาระหนึ่ง “สมาคมประกันชีวิตไทย และภาคธุรกิจประกันชีวิต (Life insurance) มีความพร้อม (Readiness) และมุ่งมั่น (Determined) ที่จะให้ความคุ้มครอง (Coverage) ตามเงื่อนไข (Term and condition) ของกรมธรรม์ประกันภัยไปจนครบกำหนดสัญญา โดยบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบด้าน ทั้งก่อนและหลังการรับประกันภัย มีฐานะทางการเงิน (Financial status) และเงินกองทุน (Fund) ที่มั่นคง เพียงพอต่อการปฏิบัติตาม (Compliance) ข้อผูกพันในกรมธรรม์ประกันภัย ทุกกรมธรรม์ที่ออกให้แก่ผู้เอาประกัน . . . 

. . . และมีความตั้งใจ (Intent) เป็นอย่างยิ่งในการส่งมอบ (Delivery) บริการที่เป็นเลิศ (Excellent)ทุ กช่องทาง และพัฒนาต่อยอดคุณภาพ (Quality) การให้บริการ โดยนำระบบเทคโนโลยีทุกแพลตฟอร์ม (Platform) และโมเดล (Model) ธุรกิจใหม่ๆ มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เอาประกันภัยในทุกสถานการณ์ (Situation) ได้มากขึ้น” นายกสมาคมประกันภัย กล่าวทิ้งท้าย

แหล่งข้อมูล

  1. ttps://thaipublica.org/2023/07/thai-life-insurance-industry-sees-growth-in-1st-half-premium/ [2024, July 22].
  2. https://www.tlaa.org/ [2024, July 22].