10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 35
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 กรกฎาคม 2567
- Tweet
รวมถึงที่ทางภาครัฐ (Public sector) ให้การสนับสนุน (Support) เรื่องมาตรการลดหย่อนภาษี (Tax deductibles) ของประกันชีวิต (Life insurance), ประกันสุขภาพ (Health insurance), และประกันบำนาญ (Pension insurance) และมีมาตรการ (Measure) ผ่อนคลายการกำกับดูแลให้เป็นเชิงหลักการ (Principle-based) มากขึ้น
โดยวางกรอบแนวปฏิบัติ (Frame-work) สามารถปรับได้ (Adjustable) ตามความเหมาะสม (Appropriate) กับสภาวะตลาด (Market condition) ในปัจจุบัน เพื่อให้ภาพรวม (Overall) ธุรกิจประกันชีวิตยังสามารถเติบโตได้ แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะวิกฤติ (Crisis)
นอกจากนี้ภาคธุรกิจได้มีการส่งเสริม (Promote) ให้บริษัทประกันชีวิตมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) มาประยุกต์ใช้ (Application) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operating efficiency) และขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive capability) ให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกันชีวิตยังคงต้องติดตาม (Monitor) ปัจจัยท้าทาย (Challenge) ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เช่น ความไม่แน่นอน(Uncertainty) จากเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic) และเศรษฐกิจโลก (Global) ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Yield curve) ที่ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีทิศทางที่ปรับสูง (Upward) ขึ้น แต่ยังต้องมีความระมัดระวัง (Caution)
โดยเฉพาะในการเลือกลงทุน (Investment) ในสินทรัพย์ (Asset) แต่ละประเภท, สงครามการค้า (Trade war), และความขัดแย้งระหว่างประเทศ (International conflict) ที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) หรืออำนาจซื้อ (Purchasing power) ของประชาชน
ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของสถานการณ์การเมือง (Political situation) ทั้งในและต่างประเทศที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่น (Confidence) ของผู้บริโภคและนักลงทุน, ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ (Cyber security threat) ที่สามารถสร้างผลกระทบ (Impact) และมีผลต่อเสถียรภาพ (Stability) ของระบบการประกันชีวิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเริ่มใช้กฎระเบียบ (Rules and regulations) และมาตรฐานสากล (International standards) ใหม่ เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standard: TFRS) ฉบับที่ 17 และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA), มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติ (Common Reporting Standard: CRS), และการปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของสหรัฐอเมริกา (Foreign Account Tax Compliance Act: FATCA)
ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้แต่ละบริษัทประกันชีวิต จะต้องปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ทั้งงบประมาณ (Budget), เวลา, และบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ
ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทย (Thai Life Assurance Association) จึงมีแผนดำเนินงาน (Action plan) เพื่อเตรียมพร้อม (Readiness) รับมือ (Handle) ต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน โดยนำแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เพื่อประกอบการพิจารณาลงทุนและดำเนินงาน ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้าน ESG
กล่าว คือ สิ่งแวดล้อม (Environment), สังคม (Social), และการกำกับดูแล (Governance) มาประยุกต์ใช้เพื่อธุรกิจประกันชีวิตไทยให้มีความยั่งยืน (Sustainable) การส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ รวมถึงการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) เข้ามาใช้พัฒนากระบวนการ (Process) ต่างๆ
แหล่งข้อมูล –
- ttps://thaipublica.org/2023/07/thai-life-insurance-industry-sees-growth-in-1st-half-premium/ [2024, July 8].
- https://www.tlaa.org/ [2024, July 8].