10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 30

ขณะที่อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ที่เริ่มขยับเพิ่มขึ้น (Upward) ในปัจจุบัน ส่งผลบวกต่อการลงทุน (Investment) ของภาคธุรกิจประกัน (Insurance sector) แต่ถึงวันนี้มุมมอง (Perspective) และแนวคิด (Concept) ของภาคธุรกิจได้เปลี่ยนไป

สมาคมประกันชีวิตไทย (Thai Life Assurance Association) มองว่า “แม้ดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ก็มีความผันผวน (Fluctuation) จากสถานการณ์เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อที่อยู่ระดับสูง ขณะที่ประกันภัย เป็นธุรกิจของความเชื่อมั่น (Confidence) การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk management) ดังนั้นการจะออก (Launch) แผน (Plan) หรือผลิตภัณฑ์ (Product) แต่ละครั้ง จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเงินได้ (Ability-to-pay) ตามเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระยะยาว (Long-term future)”

ในภาวะที่ดอกเบี้ยขยับขึ้น ภาคธุรกิจก็จะมีประกันสะสมทรัพย์ (Endowment insurance) มานำเสนอเช่นกัน แต่ก็จะมาแบบปริมาณจำกัด (Limited quantity) เพื่อสามารถคืนผลประโยชน์ (Dividend) ได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ (Policy terms) เพราะภาคธุรกิจยังต้องคำนึงถึงมาตรฐานบัญชีใหม่ FRIS (= Financial reporting insurance standard)

มาตรฐานนี้ เป็นตัวแปรสำคัญในการสะท้อน (Reflect) มูลค่าธุรกิจ (Business value) ซึ่งหากรูปแบบรวมงาน (Portfolio) การรับประกัน มีแต่ผลิตภัณฑ์สะสมทรัพย์เป็นหลัก อาจกระทบต่อฐานะการเงิน (Financial status) ได้อย่างคาดไม่ถึง (Unexpected) ดังนั้นจึงต้องมีรูปแบบงานที่สมดุล (Balanced)

ด้วยปัจจัยดังกล่าว นายกสมาคมประกันชีวิตไทย จึงยังมองว่า

“ภาพธุรกิจปี พ.ศ. 2566 เต็มไปด้วยความท้าทาย (Challenge) แต่ภายใต้ความท้าทายดังกล่าว ยังมีโอกาสเติบโต (Growth opportunity) โดยเฉพาะแบบประกันสุขภาพ (Health insurance) และประกันโรคร้ายแรง (Severe diseases) ที่มีความต้องการ (Demand) ในตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง . . .

. . จากปัจจัยค่ารักษาพยาบาล (Treatment) ที่สูงขึ้น ความเสี่ยง (Risk) ของการเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) แบบครั้งที่เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 นวัตกรรม (Innovation) การรักษาที่สูงขึ้นและก็ตามมาด้วยการใช้จ่าย (Spending) ที่มากขึ้น

รวมถึงโครงสร้างสังคม (Social structure) ที่เปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ซึ่งเป็นวัยที่มาพร้อมความเสื่อมของร่ายกาย (Physical deterioration) ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาล (Treatment) ที่ถี่ขึ้นกว่าวัยหนุ่มสาว (Youth) อันหมายถึงค่าใช้จ่าย (Expenditure) ด้านนี้ที่เพิ่มขึ้น 

ในเรื่องนี้ นายกสมาคมกล่าวว่า “สมาคมให้ความสำคัญกับโครงสร้างประชากร (Population) ที่เปลี่ยนไป ด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึง (Access) ความคุ้มครอง (Coverage) ของประกันสุขภาพได้ ขยาย (Expand) ความคุ้มครองไปถึง 99 ปี”

อย่างไรก็ตาม ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อการเคลมประกัน (Insurance claim) ของภาคธุรกิจทีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกบริษัทประกันชีวิตต้องบริหารจัดการควบคุมเคลมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (Appropriate) เช่น การให้ความรับผิดส่วนแรก (Deductible) หรือมีค่าใช้จ่ายร่วม (Co-payment) เช่น บริษัทประกันออกค่าใช้จ่าย 80% ผู้เอาประกันภัยออกค่าใช้จ่าย 20% ซึ่งการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ จะทำให้ผู้เอาประกันสามารถจ่ายเบี้ยในอัตราที่ถูกลง และเข้าถึงความคุ้มครองได้ง่ายขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/insurance/2711435 [2024, April 13].
  2. https://www.tlaa.org/ [2024, April 13].