10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 29

สมาคมประกันชีวิตไท (Thai Life Assurance Association) ประเมินความต้องการ (Demand) ตลาด ว่ายังคงเติบโตขึ้นต่อเนื่อง (Continuous growth) แม้ภาพรวมเบี้ยประกัน (Premium) จะทรงตัว หรือโตเพียงเล็กน้อย

ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลของขนาดเบี้ยของแต่ละผลิตภัณฑ์ (Product) ต่างกันมาก รวมถึงสนับสนุน (Support) ธุรกิจออกแผนคุ้มครอง (Coverage plan) รับโครงสร้างสังคม (Social structure) ที่เปลี่ยนไป ทั้งขยายอายุรับประกัน และผู้สูงอายุ (Elderly) สามารถซื้อประกันสุขภาพได้

สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิต (Life insurance) ยังคงเผชิญปัจจัยท้าทาย (Challenge) จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก (World economy) ที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว (Slow-down)

สภาวะดังกล่าว ย่อมกระทบ (Impact) ต่ออุตสาหกรรมประกันภัย (Insurance industry) เช่นกัน ทั้งในเรื่องของการลงทุน (Investment) ความเชื่อมั่น (Confidence) ของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย (Spending) ทำให้ สมาคมประเมิน (Assess) ภาพรวม (Overall) ธุรกิจปีนี้ อาจขยายตัวได้เพียง +2% หรือ ทรงตัวไม่เติบโต 0%

“ในอดีตธุรกิจประกันชีวิตสามารถโตได้เป็น 2 เท่าของ GDP (= Gross domestic product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) แต่ภาพดังกล่าวเปลี่ยนไปตามปัจจัยท้าทายใหม่ๆ ทั้งเรื่องของกฎระเบียบ (Rules and Regulations), มาตรฐานบัญชี (Accounting standards), สถานการณ์เศรษฐกิจ (Economic situation), ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer), ดอกเบี้ย (Interest), ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment: ROI) เป็นต้น”

ปัจจัยสำคัญ (Major factors) ที่ทำให้เบี้ยประกันชีวิตขยายตัวไม่มากนั้น ภาคธุรกิจประกันชีวิต (Life insurance sector) ชี้แจงอยู่เสมอว่า ประเด็นหลักมาจากการบริหารรูปแบบรวมงาน (Portfolio) การรับประกันของภาคธุรกิจ (Business sector) ให้สอดคล้องกับผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment: ROI)

ในอดีตที่ผ่านมาพันธบัตร (Bond) และตราสารหนี้ (Debt instrument) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่ภาคธุรกิจลงทุนเป็นหลักให้ผลตอบแทน (ROI) ที่น้อยมาก ดังนั้น บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งจึงต้องปรับแผน (Adjust) การขายผลิตภัณฑ์จากสะสมทรัพย์ (Savings) มาเน้นความคุ้มครอง (Coverage) แทน

สมาคมประกันชีวิตไทย อธิบายต่อว่า แบบประกันที่เน้นความคุ้มครองนั้น ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยในวงเงินที่น้อยกว่า แบบประกันสะสมทรัพย์ (Endowment insurance) ดังนั้นเมื่อเกิดการปรับเปลี่ยน เบี้ยรับรายใหม่, เบี้ยต่ออายุ, และเบี้ยรวม ก็ไม่ได้เข้ามามากเหมือนช่วง 10 ปีก่อน ที่ภาคธุรกิจระดมขายแต่สะสมทรัพย์

“หรือถ้าจะให้เห็นภาพของความแตกต่างในการจ่ายเบี้ย สมาคมยกตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพ (Health insurance) มีเบี้ยประกันที่ต่างจากแบบประกันสะสมทรัพย์ถึง 10 เท่า

“ประกอบกับช่วงเวลานี้ แบบประกันสะสมทรัพย์เริ่มมีการครบอายุสัญญา (Expiration) บางกรมธรรม์ (Policy) ก็จ่ายเบี้ยครบสัญญาแล้ว แต่ความคุ้มครองยังคงวิ่งต่อไปตามเงื่อนไข (Terms) ขณะที่ แบบประกันสะสมทรัพย์ตัวใหม่ๆ ไม่ได้เข้ามาเติม (Fulfil) มากเหมือนอดีต ดังนั้นผลจากปัจจัยดังกล่าวที่เกิดจากอดีตก็ยังคงส่งต่อมา (Consequence) ถึงปี พ.ศ. 2566”

  • ประกันภัยรับรวม 8,124 ล้านบาท เติบโตลดลง13.44% คิดเป็นสัดส่วน1.33%

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/insurance/2711435 [2024, May 15].
  2. https://www.tlaa.org/ [2024, May 15].