10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 25

ผลลัพธ์นี้ สอดคล้องกับอีกงานวิจัยการตลาดหนึ่ง ซึ่งศึกษาพฤติกรรม (Behavior) การใช้บริการจากการมีประกันชีวิตของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพบว่า ปัจจัย (Factor) ส่วนบุคคล, เพศ (Gender), อายุ, รายได้ (Income) เฉลี่ยต่อเดือน, ระดับการศึกษา (Education) และสถานภาพ (Status) มีผลต่อการพฤติกรรมเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้สูงอายุ (Elderly)

ผลลัพธ์นี้ ก็สอดคล้องกับอีกงานวิจัยการตลาดหนึ่ง ซึ่งศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิต (Life insurance) เปรียบเทียบ (Comparative) ระหว่างการซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ (Commercial bank) กับ ผ่านตัวแทน (Agent) บริษัทประกันชีวิต

ผลปรากฏว่า ปัจจัยทางด้านเพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ (Occupation), สถานภาพสมรภ (Marital status), และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจ (Decision-making) ทำประกันชีวิต กรณีเปรียบเทียบระหว่างซื้อผ่าน ธนาคารพาณิชย์ กับ ผ่านตัวแทนบริษัทประกัน

ผลลัพธ์นี้ ก็สอดคล้องกับอีกงานวิจัยการตลาดหนึ่ง ซึ่งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล (Influence) ต่อพฤติกรรมการซื้อประกันสุขภาพของ บริษัทประกันชีวิตชั้นนำ ในเขตกรุงเทพมหานคร แล้พบว่า ปัจจัยทางด้านเพศ, อายุ, สถานภาพสมระ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, และรายได้ จะส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อประกันสุขภาพของ บริษัทดังกล่าว

ผลลัพธ์นี้ ก็สอดคล้องกับอีกงานวิจัยการตลาดหนึ่ง ซึ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประกันภัยรถยนต์ (Car insurance) ภาคสมัครใจ (Voluntary) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ในจังหวัดนนทบุรี แล้พบว่า เพศ, อาชีพ, และระดับรายได้ มีผลต่อการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลไม่เกิน 7คน ในจังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ มีการนำข้อมูลไป ใช้การพัฒนาช่องทาง (Channel) การตลาดในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้าให้กลุ่มเป้าหมาย (Target group) สามารถเข้าถึง (Access) การบริการในการซื้อประกันสุขภาพ โดยการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อม (Readiness) ในการบริการ

เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในข้อสงสัยของลูกค้า, รับฟังปัญหาของลูกค้า, และมีความจริงใจ (Advisory, Listening and Sincerity: ALS) ในการให้บริการ และปรับปรุง (Improve) ให้ลูกค้าเข้าถึงความสะดวก (Convenience) ในการซื้อประกันสุขภาพ เช่น มีสำนักงานของบริษัทให้นั่งทำงาน (Working space), มีสิ่งอำนวยความสะดวก (เช่น เครื่องดื่มและของว่าง), และที่จอดรถ (Parking lot) เพียงพอแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ

ยิ่งไปกว่านั้น นำไปวางกลยุทธ์ (Strategy) ช่องทางการตลาดในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยจะนำกลยุทธ์ “ALS” ไปใช้ในการพัฒนาทักษะ (Skill) เจ้าหน้าที่ในการให้บริการลูกค้าในการซื้อประกันสุขภาพ

การวางตำแหน่ง (Positioning) ในด้านการบริการ (Customer service) ภายใต้สโลแกน “บริการด้วยหัวใจ” (Service with heart) เพื่อเจาะ (Penetrate) กลุ่มเป้าหมายกลุ่มลูกค้า ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอาชีพที่มีลักษณะงานเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนมากอยู่ในสำนักงาน

แหล่งข้อมูล -

  1. http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-2-1_1612425459.pdf [2024, February 3].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_channel [2023, February 3].