10. ตลาดประกันสุขภาพ – ตอนที่ 22
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 ธันวาคม 2566
- Tweet
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัยตลาด (Market research)
- นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาช่องทางการตลาด (Marketing channel) ในการซื้อประกันสุขภาพ (Health insurance) ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการ (Demand) ในการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
- นำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ (Strategy) ช่องทางการตลาด ในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (Target group) ของบริษัทประกัน
ในการจัดหาข้อมูล สามารถแยกเป็นก่อนการขาย (Pre-sale) และหลังการขาย (Post-sale) โดยเฉพาะก่อนการขาย อันเป็นข้อมูลของผลิตภัณฑ์ (Product) ในลักษณะการใช้งาน (Usage) เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ก่อนการตัดสินใจ (Decision-making) เช่น เงื่อนไข (Condition) และความคุ้มครอง (Coverage) ของผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ
จากนั้น มีการรวบรวมประเด็น (Issue) และปัญหา (Problem) ในการศึกษาข้อมูลจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทประกันสุขภาพ แล้วนำข้อมูลมาคัดกรอง (Screen) เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์ (Synthesis) แนวคิดช่องทางการตลาด ในการซื้อประกันสุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร
ในการวิจัยช่องทางการตลาดครั้งนี้ ใช้ระยะเวลาศึกษาวิจัย ตั้งแต่ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 จนถึง เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลา 3 เดือน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Objectivity) เชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม (Questionnaire) สำรวจความคิดเห็นของลูกค้า อันประกอบด้วย
- คุณลักษณะส่วนบุคคล (Individual characteristics)
- ช่องทางการตลาดในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้า
เพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่น (Confidence) ของแบบสอบถาม 32 ชุด จากแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 ชุด ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistics) และการอภิปราย (Discussion) ผลการวิจัยข้อเสนอแนะ (Recommendation) จากการวิจัย
เครื่องมือ (Instrument) การวิเคราะห์ข้อมูลมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
- การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ในเชิงสถิติพรรณนา (Descriptives), ความถี่ (Frequency), และค่าร้อยละ (Percentage)
- การวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นของช่องทางการตลาด ในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ในเชิงสถิติพรรณนา, ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
- การเปรียบเทียบ (Comparative) ช่องทางการตลาดในการซื้อประกันสุขภาพของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ในเชิงสถิติอ้างอิงการวิเคราะห์ทดสอบทีเทสต์ (t-Test) ในกรณีเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-Test) ในกรณีเปรียบเทียบมากกว่า 2 กลุ่ม, และการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีการของความแตกต่างที่มีความสำคัญน้อยที่สุด (Least significant difference: LSD)
แหล่งข้อมูล -
- http://www.vl-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-2-1_1612425459.pdf [2023, December 23].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_channel [2023, December 23].