12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 26 ธันวาคม 2567
- Tweet
1. ปัจจัยด้านการเมือง (Political factor) จากภาวการณ์แพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของเชี้อไวรัส Covid-19 ส่งผลต่อปัจจัยเชิงลบ (Unfavorable) ด้านการเมืองการปกครองของไทย ที่สำคัญ คือมาตรการสั่งปิดประเทศ (Lock-down) และปิดกิจการที่มีความเสี่ยง (Risky) ที่ ทำให้เกิดการแพร่ระบาด (Widespread) เป็นระยะๆ ไม่แน่นอน ทำให้ทุกธุรกิจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ (Potential) ส่งผลกระทบทั้งในเรื่องเงินทุนหมุนเวียน (Monetary circulation) และค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed) เช่น ด้านค่าเช่าสถานที่ (Facility rental) และค่าจ้างพนักงาน (Employee payroll) ซึ่งเป็นรายจ่ายหลักที่ไม่ยืดหยุ่น (Flexible) ไปตามจำนวนผู้ใช้บริการที่ลดลง (Reduce) นอกจากนี้ ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมือง (Political uncertainty) เนื่องจากประชาชนขาด (Lack) ความเชื่อมั่น (Confidence) ในความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาล ทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายทางการเมือง (Segregation) ก่อให้เกิดการประท้วง (Protest) ในบางพื้นที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ (Image) ในการลงทุน (Investment) ของนักลงทุน รวมถึงภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย (Safety) ในการมาเที่ยวของนักท่องเที่ยว (Tourist) เนื่องจากการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจและเศรษฐกิจโดยตรง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ออกนโยบายสนับสนุนทางด้านภาษี (Taxation) นิติบุคคล (Corporate) แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and medium-sized enterprises) เพื่อเป็นการกระตุ้น (Stimulus) การลงทุนภายในประเทศ (Domestic) ซึ่งเป็นผลดี (Favorable) ต่อธุรกิจคลินิกเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัย
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic factors) ที่ส่งผลกระทบต่อโอกาส (Opportunity) ทางธุรกิจ เช่น แนวโน้ม (Trend) การเติบโตทางเศรษฐกิจ, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Currency-exchange), อัตราดอกเบี้ย (Interest), อัตราเงินเฟ้อ (Inflation), อัตราการว่างงาน (Unemployment) สรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า (Slow recovery) หลังการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-2019 โดยมีการพยากรณ์ว่าในปี พ.ศ. 2564 จะมีแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 3% ต่อปี ซึ่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ลาสช้าจะส่งผลให้กำลังซื้อ (Purchasing power) ของคนในประเทศไทยลดลงด้วย ซึ่งภาครัฐได้ออกมาตรการ (Measure) ที่หลากหลายมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการคนละครึ่ง (Half-half copayment scheme) หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการดังกล่าวหมดลง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ก็จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามปัจจัยพื้นฐานด้านรายได้ที่ลดลง
3. ปัจจัยด้านสังคม-วัฒนธรรม (Social-cultural factors) ที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสต่อธุรกิจ เช่น โครงสร้างทางเพศ (Gender) และอายุ (Age) อัตราการเติบโตของประชากร (Population), การกระจายตัว (Distribution), ระดับ การศึกษา (Education level), ทัศนคติ (Attitude) ด้านการใช้ชีวิต (Life style), อาชีพ (Occupation), ความใส่ใจด้านสุขภาพ (Health consciousness), ค่านิยม (Value), ความเชื่อ (Belief), ขนบธรรมเนียม (Customer) และประเพณี (Tradition) ตลอดจนพฤติกรรม (Behavior) การบริโภคอุปโภค (Consumption) โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อนักการตลาดที่เข้าใจลูกค้า ที่รณรงค์ (Campaign) การตลาดเพื่อให้เข้าถึงพวกเขา สรุปได้ดังนี้
- ในปัจจุบันยังมีค่านิยมเรื่องการรักสวยรักงามในร่างกาย (Body appreciation) โดยที่ผู้หญิงต้องการความสวย (Beauty) มีรูปร่าง (Figure), หน้าตา (Facial), ผิวพรรณ (Skin) หมดจด เป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ทำให้มีการใช้บริการด้านความสวยงาม (Aesthetics) ที่หลากหลาย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว (Skin-care products) การเข้ารับบริการทางการแพทย์ (Medical service) ด้านผิวพรรณและความงาม หรือแม้แต่การทำศัลยกรรมตกแต่ง (Cosmetic surgery) โดยส่วนมากคนรุ่นใหม่ (New generation) จะได้รับอิทธิพล (Influence) เสริมความงามจากนานาสื่อ (Media) และมีความต้องการให้ร่างกายตนเป็นไปตามอุดมคติ (Idealistic)
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, December 25].
- https://globescan.com/ [2024, December 25].