12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 42

การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ไม่ใช่แค่วิกฤตการณ์ (Crisis) ด้านสาธารณสุข (Public health) ของโลกเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม ครั้งหายนะ (Catastrophe) เป็นประวัติการณ์ โดยที่บริษัท โกลบสแกน (GlobeScan) ซึ่งทำหน้าที่สำรวจ (Survey) ความคิดเห็นสาธารณะจัดทำขึ้นใน 27 ประเทศ เมื่อเดือน มิ.ย. ปี พ.ศ. 2563

เวลานั้นเป็นช่วงที่หลายประเทศกำลังเผชิญ (Confront)การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 อย่างรุนแรง (Severe) พบว่าวิกฤตไวรัสส่งผลกระทบด้านการเงิน (Financial impact) มากที่สุด เนื่องจากมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distance) และการปิดเมือง (Lock-down) ในประเทศต่างๆ ได้สร้างความเสียหาย (Damage) อย่างหนักต่อธุรกิจหลายภาคส่วน (Sector)

ตั้งแต่ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism), ธุรกิจสายการบิน (Aviation), ภาคการส่งออก (Export), อุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil), อุตสาหกรรมบันเทิง (Entertainment), งานบริการ (Service) ตลอดจนห้างร้านค้าปลีก (Retail) ต่างๆ และทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ (Inequality) ทางเศรษฐกิจแผ่ขยาย (Widespread)  ไปทั่วโลก

นอกจากนี้ยังจุดปัญหาชนวนความขัดแย้งระหว่าง (Conflict) เวทีการเมือง (Political arena) ทั้งในระดับโลก ที่ชาติตะวันตกกล่าวหาว่าจีนไม่มีความโปร่งใส (Transparent) ในการเปิดเผย (Disclosure) ข้อมูล ในช่วงต้นของการระบาด และไม่ยอมให้มีการสอบสวน (Investigation) อิสระของทีมนักวิทยาศาสตร์ รวมถึงการเมืองระดับประเทศ เช่น การแบ่งฝ่ายต่อต้าน (Oppose) หรือสนับสนุน (Support) นโยบายการฉีดวัคซีน (Vaccination) ของประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทางการเมืองขึ้น

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พยากรณ์ (Forecast) เศรษฐกิจปี พ.ศ. 2563 ว่ามีแนวโน้มจะชะลอตัวและต่ำกว่าระดับศักยภาพ (Potential) ต่ออีกปี เนื่องจากภาวะ “VUCA” (Volatility, Uncertainty, Complexity, และ Ambiguity) ในระดับโลก

VUCA ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการจ้างงาน (Employment) ของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยมีทั้งปัจจัยเสริม (Supplement) และปัจจัยฉุดรั้ง (Hindrance) ในการทำธุรกิจในปี พ.ศ. 2563 อันประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. การส่งออกสินค้า - ที่วิวัฒนาการของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกกับจีนที่เป็นไปในทิศทาง (Direction) ที่ดีขึ้น (Improvement) ทำให้อาจเห็นคำสั่งซื้อ (Purchase order) และการผลิต (Production) ปรับตัวดีขึ้น แต่ไทยจะพบปัจจัยฉุดรั้งที่มาจากคู่แข่ง (Competitor) ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้เร็วกว่า และการเสียส่วนแบ่งการตลาด (Market share) ในอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) ให้แก่ประเทศจีน
  2. บริการภาคการท่องเที่ยว - จะประสบปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมาก (Dramatic drop) ส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานถึงประมาณ 5% ของการจ้างงานในปี พ.ศ. 2562 การฟื้นตัว (Recovery) จึงขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความยืดเยื้อ (Prolong) ของโรคระบาด ในปี พ.ศ. 2563 จึงเป็นการประคองตัว (Sustain) เพื่อความอยู่รอด (Survival) โดยจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ (Assitance) ด้านสภาพคล่อง (Liquidity) จากทั้งภาครัฐและสถาบันการเงิน

แหล่งข้อมูล

  1. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, October 16].
  2. https://globescan.com/ [2024, October 16].