12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 41

ในการมุ่งเน้น (Focus) ไปที่ตลาด (Market) กลุ่มกลางและกลุ่มบน (Middle-to-high end) ผู้วิจัย (Researcher) ได้จัดทำแผนธุรกิจโดยใช้เงินลงทุน (Investment) จำนวน 5,000,000 บาท โดยกำหนดต้นทุนทางการเงินเฉลี่ย WACC (= Weighted average cost of capital [ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก]) เท่ากับ 20%

แผนธุรกิจนี้ มีเป้าหมายระยะสั้น (Short-term goal) ภายในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี มียอดขาย (Revenue) ไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาทต่อปี มีอัตราเติบโต (Growth rate) ของรายได้บริการความงาม (Aesthetics) และความอ่อนเยาว์ (Youthfulness) ไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี

ธุรกิจจะมีอัตราเติบโตของรายได้บริการชะลอวัย (Anti-aging) และป้องกัน (Preventive) ไม่สต่ำกว่า 25% ต่อปี โดยมีอัตรากำไรสุทธิ (Net income) ไม่ต่ำกว่า 10% [ของรายได้] พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายระยะยาว (Long-term goal) ไว้ภายในระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี

ปัจจัยสำคัญ คือการเพิ่มการลงทุน (Investment) เครื่องมือแพทย์ (Medical device) ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Sophisticated technology) เห็นผล (Visible outcome) รวดเร็ว

พร้อมทั้งเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Analytic devices) ระดับเซลล์ (Cell level) เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-aging medicine) และเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive medicine)

นอกจากสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร (Metropolis) แล้ว จะมีการเพิ่มสาขาที่ 2 ที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับการบริการการดูแลสุขภาพ (Health-care) แบบองค์ (Holistic)

รวมระยะสั้นและระยะยาวแล้ว จะมีอัตราเติบโตของรายได้บริการความงามและความอ่อนเยาว์ไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี และมีอัตราเติบโตของรายได้บริการชะลอวัยและป้องกันไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี โดยมีอัตรากำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 20% [ของรายได้] ต่อปี

จากการกำหนดสมมุติฐาน (Assumption) ทั้งหมด การลงทุนในครั้งนี้ จะได้รับอัตราผลตอบแทน (Return on investment: ROI)  ภายใน (Internal) มีค่าสูงกว่า WACC ที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 20%

มูลค่าสุทธิ (Net present value: NPV) มากกว่าศูนย์ และจุดคุ้มทุน (Break-even) ในทุกสถานการณ์ไม่เกิน 5 ปี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ธุรกิจคลินิกเวชกรรมเสริมความงามและชะลอวัยมีความคุ้มค่าและน่าลงทุนเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม บริษัทจำเป็นต้องวางแผนเพื่อตอบสนอง (Response) ต่อปัจจัยวิกฤต (Critical factors) ที่เป็นเงื่อนไข (Condition) แห่งความสำเร็จ (Success) หรือความล้มเหลว (Failure)

ปัจจัยดังกล่าว ประกอบด้วย

  • การโฆษณาที่ผิดกฎหมาย (Illegal advertising)
  • การใช้สื่อสังคม (Social media) และผู้ทรงอิทธิพล (Influencer) ที่คุ้มค่า (Cost effectiveness)
  • การเลือกใช้ยา (Drug) และเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ที่มีประสิทธิภาพ (Efficient)
  • ความเสี่ยง (Risk) ในการถูกเพิกถอน (Revoke) ใบอนุญาต (License)
  • บุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) ไม่เพียงพอ (Inadequate) ต่อความต้องการ และ
  • ความสามารถของผู้บริหาร (Managerial capability) ในการการบริหารต้นทุน

แหล่งข้อมูล

  1. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, October 2].
  2. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complementary-alternative-medicine/about/pac-20393581 [2024, October 2].