12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 17

  • ปริมาณลูกค้ามากเกินกว่าความสามารถในการให้บริการ ในการดำเนินธุรกิจ (Operations) ในระยะยาว หากปริมาณลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจนเกินความสามารถ (Capacity) ในการรองรับ หากไม่สามารถบริการลูกค้าได้ทันเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ (Dis-satisfaction) ในการบริการ แนวทางการบริการความเสี่ยง
    • จัดทำการลงทะเบียนลำดับ (Queue) ลูกค้าในทุกกรณี เพื่อดูช่วงเวลาที่ว่างของคลินิก ลูกค้าบางรายที่มีเวลา สามารถมาคลินิกได้หลายช่วงเวลาพนักงานจัดคิว จะสามารถกระจายความคิวไปในวัน อื่นๆเพื่อลดความหนาแน่น (Tightness) ของคิวได้
    • ผู้จัดการ (เจ้าของ) กิจการวางแผนที่จะจ้างพนักงานชั่วคราว มาบริการในช่วงวันทำการที่มีลูกค้ามาใช้บริการมาก และหากมีแนวโน้ม (Tendency) ว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะต้องพิจารณาจ้าง พนักงานประจำเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพ (Efficiency) การให้บริการ
  • ความเสี่ยง (Risk) จากการปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal) และข้อบังคับของหน่วยงานที่กำกับดูแล (Regulatory requirement) คลินิกเสริมความงาม ถือเป็นกิจการสถานพยาบาลประเภทคลินิกเวชกรรมที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มิเช่นนั้นอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต (License) ได้ แนวทางการบริหารความเสี่ยง กำหนดหน้าที่ตรวจสอบ (Inspection), ควบคุม (Control), และดูแลให้ปฏิบัติตาม (Compliance) กฎหมาย, ข้อบังคับ, และข้อกำหนด เกี่ยวกับการประกอบกิจสถานพยาบาลอย่างเคร่งครัด (Strictly) ทั้งสถานที่ที่ต้องสะอาด, เรียบร้อย, ปลอดภัย (Safe) ให้มีลักษณะเหมาะสม (Appropriate) แก่การเป็นสถานพยาบาลอยู่เสมอ โดยจัดให้มีแพทย์ประจำตลอดเวลา, จัดเครื่องมือ-เครื่องใช้, ยาและเวชภัณฑ์ ที่จำ เป็นให้เป็นไปตามมาตรฐานการบริการ (Service standard) เป็นต้น

นักวิจัยการตลาดคลินิกเสริมความงาม ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ (Analysis) และระบุ (Identify) ทางเลือกเพื่อปรับปรุงแก้ไขกรณีเผชิญความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Relevant risk) โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้สามารถระบุได้ 3 ด้านคือ ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, และด้านการดำเนินงาน

จากนั้นนำมาพิจารณาถึงระดับผลกระทบ (Impact) หากเกิดขึ้นจะส่งผลต่อธุรกิจในระดับสูงหรือต่ำ โดยความเร่งด่วน (Urgency) ในการแก้ปัญหาที่แบ่งออกเป็น 3 ทางคือระดับต่ำ สามารถแก้ไขได้ระยะสั้น, ระดับปานกลาง สามารถแก้ไขได้ในระยะกลางมากกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี, และระดับสูง หมายถึงสามารถแก้ไขได้แต่ต้องใช้ระยะยาวมากกว่า 3 ปี

นักวิจัยนำเสนอแผนธุรกิจคลินิกเสริมความงาม ซึ่งต้องมีการลงทุน 8,000,000 บาท โดยมีต้นทุนถัวเฉลี่ย (Weighted-average cost) เท่ากับ 13.68% แล้วเริ่มมีกำไร ในปี ที่ 1 ซึ่งมีมูลค่าปัจจุบัน (Net present value: NPV) เป็นบวก เท่ากับ 227,425,535 บาท และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) เท่ากับ 23.03% ระยะเวลาคืนทุน 3 ปี 1 เดือน และระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (Discounted) คือ 4 ปี

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4256/1/TP%20050%202564.pdf [2023, October 16].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Market_risk [2023, October 16].