12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 16

ผู้บริหาร (เจ้าของ) พึงพิจารณาจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย มาใช้ในการตรวจรักษาคนไข้ คลินิกเสริมความงาม (Aesthetics) หากพิจารณาแล้วว่าเครื่องใหม่ที่จะซื้อเข้ามามีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเครื่องเก่าและ สามารถนำมาทำการตลาดได้ โดยเครื่องเก่านำไปขายเป็นค่าซาก (Salvage value) เพื่อนำเงินสดหมุนเวียนกลับมายังบริษัท

รวมถึงคงไว้ในการใช้เครื่องที่มีมาตรฐานรับรอง (Certified standard) ทุกเครื่องในการใช้รักษา ผู้บริหารต้องคอยปรับปรุงให้ทันกาล (Update) ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษาต่างๆ แก่พนักงานในร้าน เพื่อให้พนักงานมีความรู้ (Knowledgeable), สามารถเปรียบเทียบ, และอธิบายแก่ลูกค้าได้

  1. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk) ที่คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด (Unexpected) เนื่องจากธุรกิจคลินิกเสริมความงามต้องลงทุน (Investment) กับอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการรักษาเป็นหลัก ในราคาที่ค่อนข้างสูง (Expensive) ทำให้เงินลงทุนไปจมอยู่กับตัวอุปกรณ์ หากมีกรณีฉุกเฉิน (Emergency) ที่จะต้องใช้เงินสดจะไม่สามารถขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ โดยเฉพาะกรณี ไม่มีเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงาน (Payroll) และ ค่าเช่าพื้นที่ (Rental)

ผู้บริหาร (เจ้าของ) จึงต้องหมั่นตรวจสอบระบบบัญชี โดยเฉพาะกระแสเงินสด (Cash flow) จากรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของพนักงานหรือจากกระบวนการใดๆ และประมาณการ (Estimate) กระแสเงินสดเข้า-ออก (Cash inflow-cash outflow) ของธุรกิจรายสัปดาห์ เพื่อให้สามารถควบคุม (Control) การพยากรณ์ (Forecast) ความต้องการเงินสดในอนาคตและควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ (Budget) โดยเพิ่มยอดขายและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจมีรายได้จากการขายต่อเดือนสูงกว่ารายจ่ายและมีกระแสเงินสดรับสุทธิเป็นบวก (Positive net cash-flow) เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีปัญหาสภาพคล่อง

  1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk) ที่คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ มีดังนี้
    • การควบคุมคุณภาพบริการ ซึ่งธุรกิจการให้บริการอาจเกิดความผิดพลาด ระหว่างพนักงานผู้ให้บริการและลูกค้าที่เข้ารับบริการ ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ (Dis-satisfaction) แนวทาง (Guideline) ควบคุมความเสี่ยง ก็คือใช้การติดตามผล (Follow-up) หลังการใช้บริการอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า (Customer intimacy) ทุกรายทางช่องทางโทรศัพท์ หรือสื่อสังคม (Social media) เช่น Line เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการใช้บริการ รวมถึงให้เชิญชวนให้ลูกค้าทำแบบประเมิน (Evaluate) ความพึงพอใจ โดยมอบส่วนลด (Discount) หรือส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion) หากเข้าร่วมการทำแบบประเมินเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล (Data base) และนำมาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการ (Service quality) อย่างต่อเนื่อง
    • ให้ความสำคัญกับคุณภาพการรักษา (Treatment quality) โดยคัดเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์ความชำนาญในการรักษา (Specialist) รวมถึงเลือกใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน (Standard) และฝึกอบรมแพทย์ (Clinician training) เกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ เกี่ยวกับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4256/1/TP%20050%202564.pdf [2023, October 2].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Market_risk [2023, October 2].