
12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 54
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 เมษายน 2568
- Tweet
สายโซ่คุณค่า (Value chain) สามารถช่วยทำให้ค่าใช้จ่ายที่ข้องเกี่ยวกับการผลิต (Production cost) ต่ำลง (ต้นทุนในองค์กรลดลง) โดยที่กิจกรรมทุกประเภทมีส่วนในการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการขององค์กร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรม สนับสนุน (Support Activities)
ลักษณะของกิจกรรมห่วงโซ่มูลค่านี้ กิจกรรมหลัก (Primary activities) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 5 กิจกรรม ดังนี้
(1) การขนส่งขาเข้า (Inbound logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียง (Conveyance), การขนส่ง (Transportation), การตรวจรับ (Receiving), การเก็บรักษา (Storage), การแจกจ่าย (Distribution) ยา (Drug) และเวชภัณฑ์ (Medical supplies) เข้าสู่กระบวนปฏิบัติการ (Operations) และระบบคลังสินค้า (Inventory system) หากผู้ประกอบการ (Entrepreneur) มีความสามารถในการบริหาร (Management) อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) กล่าวคือสามารถจัดเก็บยา และเวชภัณฑ์ได้อย่างมีเพียงพอ (Adequate) ต่อความต้องการในการทำหัตถการ (Procedure) ให้คนไข้ที่มารับบริการ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความประทับใจ (Impression) ให้ลูกค้า รวมทั้งไม่จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์เกิน (Exceed) ความจำเป็น (Necessity) เพื่อลดต้นทุน (Cost) ดำเนินการและเพิ่มอัตรากำไร (Profitability)
(2) ปฏิบัติการ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพ (Process) ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการ รวมทั้งกระบวนการควบคุมคุณภาพ (Quality) ของสินค้าและบริการ ซึ่งธุรกิจคลินิกเวชกรรมด้านความงาม (Aesthetics) และชะลอวัย (Anti-aging) ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่ชำนาญการ (Medical professionals) ในการใช้ยา, เวชภัณฑ์, และเครื่องมือแพทย์ (Medical device) อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย (Safety) ทำให้การทำหัตถการเป็นที่พึงพอใจ (Satisfied) ของคนไข้ที่มารับบริการ ส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือ (Credible) และสร้างชื่อเสียง (Reputation) ให้กับคลินิก
(3) การกระจายสินค้า (Outbound logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมแล้วจัดจำหน่ายสินค้าให้พร้อมที่จะกระจายตัวไปสู่ลูกค้า ได้แก่ กิจกรรมการเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้า, การลำเลียงสินค้าไปส่งลูกค้า, ดำเนินการส่งมอบ (Delivery) สินค้า, ดำเนินการตามใบสั่งซื้อ (Purchase order) เป็นต้น ซึ่งหลังจากการทำหัตถการแล้ว ผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added) โดยการจัดจำหน่ายยาเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง (Continuous treatment) และสามารถจำหน่ายวิตามินและอาหารเสริม (Food supplement) เพื่อให้คนไข้ไปกินที่บ้าน อันเป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive) ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ให้ลูกค้าได้ และเป็นการสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพ (Potential) ในการแข่งขัน
(4) การตลาดและการขาย (Marketing and sales) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการชักจูง (Convince) ให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่ กิจกรรมการโฆษณา (Advertising), การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขาย (Sales promotion), การจัดทีมพนักงานขาย (Sales force), การกำหนดราคา (Pricing) และการเลือกช่องทาง (Channel) การจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจคลินิกเวชกรรมด้านความงาม (Aesthetics) และการชะลอวัย (Anti-aging) มีการแข่งขันที่สูง (Fierce competition) ดังนั้น กิจกรรมด้านการขายและการตลาดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่องทางแรกในการสื่อสาร (Communication) กับลูกค้าถึงสินค้าและบริการ ทำให้ลูกค้ามีความรู้จักและเชื่อมั่น (Confidence) ในสินค้าและบริการของคลินิก การวางกลยุทธ์ (Strategy) ด้านการขายและการตลาด, การเลือกช่องทางการโฆษณา, และช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับลูกค้าเป้าหมาย จะทำ ให้การขายมีประสิทธิภาพ (Efficiency), สร้างการเติบโตให้แก่กิจการ คลินิกหลายแห่งต้องปิดดำเนินการ (Close down) เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับ (Accept) ของลูกค้าได้
แหล่งข้อมูล –
- https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2025, April 2].
- https://globescan.com/ [2025, April 2].