11. ตลาดคลินิกฟอกไต – ตอนที่ 7

ตลาดคลินิกฟอกไต

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง พบความแตกต่างระหว่างเพศ (Gender difference) ว่าเพศชายจะเกิดไต (Kidney) เสื่อมมากว่าเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ชายที่ดื่มเหล้า (Alcohol) จะเร่งให้ร่างกายขับน้ำออก ทำให้ไตทำงานหนักเพิ่ม และผู้ชายที่สูบบุหรี่ (Smoker) จะมีสารนิโคติน (Nicotine) ซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัว ในขณะที่กการทำงานของไตจะลดลงตามอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตีบแคบ (Narrow)

อาการดังกล่าว จะส่งผลให้ไตขาดเลือดไปเลี้ยงและทำงานลดลง จนทำให้ต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไต (Dialysis) ในที่สุด ในบรรดาตัวอย่าง (Sample) ของงานวิจัยนี้ พบว่า ระดับการศึกษาส่วนมากต่ำกว่าปริญญาตรี (Bachelor) เนื่องจากคนไทยในยุคก่อนยังเข้าถึงการศึกษาได้น้อยกว่าปัจจุบัน

ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (Average income) อยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากอาการป่วย ทำให้ต้องเข้ารับการฟอกเลือดเป็นประจำ 2 ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่สามารถหางานประจำทำได้ รายได้ที่ได้รับส่วนมาก จึงมาจากคนในครอบครัวและการอุดหนุน (Subsidy) ที่รัฐบาลได้มอบให้ในรูปแบบของผลประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ (Elderly benefit) และเงินช่วยเหลือผู้พิการ (Disability support)

งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบว่า ผู้รับบริการที่มีอายุแตกต่างกัน (Age difference) ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการบริการ (Service quality) ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemolysis) ที่แตกต่างกัน ยกเว้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Customer response) เนื่องจากผู้รับบริการที่เป็นผู้สูงอายุมีปัญหา เนื่องจากความเสื่อมของเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องโรคไตเรื้อรัง (Chronic) ทำให้ต้องการการดูแลที่มากกว่าผู้รับบริการในวัยอื่นๆ สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่กล่าวว่า ผู้สูงอายุมักมีภาวะเสื่อมโทรมของร่างกาย เช่น สายตา (Vision) เริ่มมองไม่ชัด, การได้ยิน (Hearing) ลดลง, และการเคลื่อนไหว (Movement) ที่ช้าลง ทำให้มีภาวะพึ่งพิง (Dependent) ที่ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือ (Care-taker) มากขึ้น

ผู้รับบริการรายได้แตกต่างกัน (Income difference) ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการบริการในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแตกต่างกัน ยกเว้นด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เนื่องจากผู้รับบริการที่มีการรายได้สูง มีทางเลือก (Choice) ในการใช้บริการที่หลากหลาย (Variety) มากกว่า

ตัวอย่างเช่น หน่วยไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยที่มีสวัสดิการการเข้ารับบริการแตกต่างกัน (Welfare difference) ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการบริการในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลรัฐบาลแตกต่างกัน เนื่องจากผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal coverage: UC) หรือบัตรทอง หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค อาจกังวลว่าตนจะไม่ได้รับการบริการที่ดีเท่าที่ควร

เหตุผลก็คือ ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลทดแทนให้มักน้อยกว่าสวัสดิการในรูปแบบอื่นๆ ผู้ป่วยที่มีระยะเวลาเข้ารับบริการแตกต่างกัน (Time difference) ให้ความสำคัญต่อคุณภาพของการบริการในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลรัฐบาลแตกต่างกันเพราะเป็นการรักษาที่กินเวลาต่อเนื่องยาวนาน และเป็นเพียงประคับประคองให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ จึงอาจเกิดความท้อแท้และสิ้นหวังได้

แหล่งข้อมูล

  1. https://drive.google.com/file/d/1c6M3YkZlkKUO0IG30oCNKyGx7toYRvHc/view?usp=share_link [2023, May 28].
  2. https://www.hitap.net/news/newstag/universal-health-coverage [2023, May 28].