13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 46

หรือลงทุน (Investment) แบบประหยัด โดยมีความคิด “ถ้าเจ๊ง อย่างน้อยก็ไม่เจ็บตัวมาก” โดยไม่ตกแต่งภายใน (Interior decoration) มาก เช่น ใช้วัสดุและอุปกรณ์มือสอง (Second-hand), เอสเฟอนิเจอร์ถูกๆ มาวาง, เลือกเก้าอี้พลาสติก, เน้นข้าวของเครื่องใช้ไม่แพง, แอร์หรือทีวียี่ห้อจีนๆ หรือไร้ยี่ห้อ (No name) โดยตกแต่งง่ายๆ, ทาสีด้วยตัวเอง เป็นต้น

มันไม่ผิด ที่เราจะเลือกไม่ลงทุนสูง แต่จะแข่งขัน (Compete) กับคลินิกคนอื่นๆ ได้หรือเปล่า ถ้าเราเป็นคนไข้ เราอยากไปใช้บริการคลินิกที่เปิดแบบเผื่อเจ๊งไหม คนไข้เขาจะรู้สึกอย่างไร ที่เข้าคลินิกเปิดใหม่ แต่ทุกอย่างเก่าหรือแล้วดูไม่เหมือนใหม่

คนไข้เขาจะอยากมารับบริการที่ๆ เปิดแบบไม่มีความมั่นใจ ว่าจะรอด (Survive), เจ๊ง (Bankrupt), หรือเจ๊า (Break-even)

คลินิกทันตกรรม (Dental clinic) ที่พร้อมจะถอนตัว (Withdraw) ทันที ถ้าสถานการณ์ไม่ดี (Unfavorable) หรือจริงๆแล้วคนไข้อยากไปคลินิกที่ตกแต่งดีหน่อย (Well-decorated) แล้วทันตแพทย์จะเปิดคลินิกไปนานๆ (Long-lasting) ดูแลเขาไปนานๆ ไม่ทิ้งกันไปไหน

มันรวมไปถึงคนในองค์กรด้วยนะครับ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่คงมาทำงานแบบไม่มีความสุข (Unhappy) ถ้าทันตแพทย์ (Dentist) พร้อมจะทิ้งคลินิกถ้าเจ๊ง หรือไปไม่ได้ (Infeasible) เพราะเขาก็ย่อมต้องตกงาน (Unemployed) ไปเป็นลูกจ้างในคลินิกที่มีความมั่นคง (Security) ดีกว่าไหม

 ถ้าถึงขั้นจะเปิดคลินิกแล้ว อยากให้เปิดแบบมีความมั่นใจ (Confidence) มันดีกว่าเปิดเผื่อเจ๊งมากมาย ถ้ามีงบลงทุนไม่มาก ก็พยายามออกแบบ (Design) ให้สามารถลงทุนแบบไม่สูงมาก แต่ออกมาดูดี (Good look) ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และสิ่งสำคัญที่จะทำให้คลินิกไปได้คือการตลาด (Marketing) แบบทุ่มเทและสร้างคุณค่า (Value) ให้ได้

ในยุคนี้ คลินิกนั้นเต็มไปหมด (Plentiful) หลายคนมีเงินทุนจากที่บ้าน สามารถลงทุนได้หลายล้านบาท แต่คลินิกที่ “เปิดแบบเผื่อเจ๊ง” จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในสนามการแข่งขันของคลินิกทันตกรรมได้ นอกเสียจากว่า จะเปิดเป็นคลินิกระดับล่าง (Low-end) เน้นเก็บค่าบริการ (Service charge) ในระดับต่ำๆ จับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยมีคู่แข่งคือโรงพยาบาลรัฐ

ความเสี่ยง (Risk) ในการลงทุนเปิดคลินิกทันตกรรม สามารถบริหารได้ดังนี้

  1. แสวงหาแหล่ง (Source) เงินทุน (Fund) ให้เพียงพอ (Sufficient) อย่าใช้เงินธนาคารล้วนๆ ต้องนึกถึงตอนผ่อนคืน (Installment) ด้วย
  2. ถ้าทุนน้อย คำนึงถึงการเปิดแบบระมัดระวัง (Cautious), ควบคุมการใช้จ่าย (Cost control) แต่บางอย่างที่จำเป็น (Necessary) ต้องลงทุนก็ต้องยอมจ่าย
  3. ตั้งใจศึกษาการตลาด (Market study) และการบริหารในเชิงลึก (In depth) เพื่อให้ธุรกิจทำฟันได้คืนทุน (Pay-back) ภายใน 5 ปี
  4. เช่นเดียวกับความรู้สึกไม่พอของทันตแพทย์ว่า ต้องเรียนต่อเป็นหลักสูตร (Course) เพิ่มเติม ในดำเนินธุรกิจ (Business conduct) เราก็ต้องทุ่มเท หรือให้เวลาในการแสวงหาความรู้อย่างเต็มที่
  5. วางแผน (Plan) ให้ดี และใจเย็น อย่าดันทุรังเปิดคลินิกทั้งๆ ที่ยังไม่มีความพร้อม (Readiness) เปิดช้าหน่อยแต่ปังดีกว่าเปิดดังๆ ตอนยังอ่อน แล้วเจ๊ง
  6. เราเพิ่มคุณค่าได้แบบไม่ใช้เงินมากมาย เช่น ว่าจ้างเฉพาะบุคลากร (Staff) ที่ให้บริการทุกระดับประทับใจ

แหล่งข้อมูล

  1. http://dentalbusinessblog.com/การตลาด-คลินิกทันตกรรม [2024, December 12].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, December 12].