13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 44
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
- เป็นเจ้าของ (Owner) ที่เป็นมือปืนรับจ้างในคลินิกตัวเอง อาจจะทำมากทำน้อยก็แล้วแต่ (บริหาร+ทำฟัน)
- เป็นเจ้าของกิจการที่บริหารอย่างเดียว แต่ไม่ทำฟันเลย
ในกรณีที่ 1 เมื่อทำบัญชีสิ้นเดือน สมมุติว่า “ขาดทุน” เจ้าของก็จะต้องเอาค่าแรง (Labor cost) ของตัวเอง มาโปะส่วนที่ขาดทุน เช่น สมมุติว่าขาดทุน 4 หมื่นบาท แต่ตัวเองมีค่าแรงที่แบ่งมาจากการทำฟันอยู่ 2 แสนบาท สุดท้ายตัวเองจะเหลือเงินเข้ากระเป๋าแค่ 1.6 แสนบาท
แต่ถ้าทันตแพทย์เป็นมือปืนรับจ้างอย่างเดียว (ไม่ใช่เจ้าของ) จะได้ครบทั้ง 2 แสนบาท เพราะไม่ต้อง “ควักเนื้อ” มาโปะส่วนที่ขาดทุน (Loss) ของคลินิก เพราะฉะนั้นในกรณีที่คลินิกขาดทุนทางบัญชี คนที่ชนะเลิศคือลูกจ้างทั้งผู้ช่วยและทันตแพทย์มือปืนรับ เนื่องจากเขาไม่ต้องรับผิดชอบความเสี่ยง (Risk) ของการขาดทุนของคลินิก
ในกรณีที่ 2 ถ้าเจ้าของไม่ทำฟันเลย แต่เกิดเหตุการณ์ขาดทุน 4 หมื่นบาท เหมือนที่เล่ามา อันนี้เริ่มลำบากแล้ว…… จะเอาเงินจากไหนมาโปะ (Compensate) ล่ะ
อาจจะต้อง “ควักเงิน” ของคนในครอบครัว ถอน (Withdraw) เงินเก็บสะสม (Savings) หรือ กู้หนี้ยืมสินมาโปะเจ้าส่วนนี้
เจ้าของร้านทำฟันแห่งหนึ่งในย่านดอนเมือง รับสืบทอด (Succeed) ต่อกิจการคลินิกทำฟันจากคุณอาที่เป็นทันตแพทย์ (แก่แล้ว) โดยที่เจ้าตัวไม่ใช่ทันตแพทย์
แต่เจ้าตัวอาศัยความสามารถในการสรรหา (Recruit) ทันตแพทย์มาเป็นมือปืนรับจ้าง ส่วนตัวเองก็ทำงานหน้าเคาเตอร์, เป็นผู้ช่วย, และบริหารทุกอย่าง เขาก็พยายามสู้ทุกอย่างแต่สุดท้าย (Ultimately) ก็ขาดทุน เพราะคนไข้ก็ไม่มาก ค่าจ้างทันตแพทย์ก็แพง ถ้าจ้างในอัตราถูก ก็ไม่มีใครยอมมา นานเข้าก็เริ่มขาดทุน ไหนจะต้องซื้อวัสดุ (Dental supplies) ด้วย สุดท้ายก็ต้องเซ้ง (Lease) กิจการทิ้ง เพราะไม่สามารถทนขาดทุนได้ ยิ่งเปิดยิ่งเข้าเนื้อ
สรุปแล้ว จะเห็นได้ว่า ถ้าเมื่อใดคลินิกบริหารแล้วประสบสภาวะขาดทุน นั่นย่อมต้องมีการ “โปะ” หรือ “ควักเนื้อ” คลินิกย่อมไม่มีวันเจ๊งถ้าสามารถหาเงินมาทดแทนส่วนที่ขาดทุน
แต่ถ้าตัวเจ้าของกิจการไม่ได้มีรายได้มากพอที่จะรักษาสภาพคล่อง หรือขาดทุนเป็นจำนวนหลายแสนในระยะเวลานาน อาจจะต้องตัดสินใจ “ปิดกิจการ” หรือที่เราเรียกกันว่า “เจ๊ง” นั่นเอง
- ทันตแพทย์ทุกคนเหมาะเป็นเจ้าของคลินิก
ในสายเอกชน (Private) หลักๆ ทันตแพทย์ก็คงมีทางเลือกในการประกอบวิชาชีพไม่มากนัก ถ้าไม่เป็นผู้บริหาร (Management) หรือเจ้าของคลินิก ก็ต้องเป็นมือปืนรับจ้าง เราเชื่อว่าทันตแพทย์มือปืนรับจ้างหลายท่านก็ไม่ได้มีความฝัน (Dream) หยุดอยู่ที่การเป็นมือปืนรับจ้าง และมีแผนที่จะเปิดคลินิกของตัวเอง พร้อมความอยากบริหารคลินิก
ทั้งนี้ มันมีความแตกต่าง (Difference) ของภาระงาน (Workload) และความรับผิดชอบ (Responsibility) มากมาย ระหว่างการเป็นผู้บริหารคลินิก และมือปืนรับจ้าง ในส่วนของมือปืนรับจ้าง ความรับผิดชอบจะมีหลักๆ มี 2 ส่วน คือรับผิดชอบตัวเอง และรับผิดชอบคนไข้
แหล่งข้อมูล –