13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 41

    • การฝึกอบรม (Training) ลูกทีม โดยเฉพาะเค้าเตอร์ต้อนรับ (Reception) ให้สามารถตอบคำถามต่างๆ แทนทันตแพทย์ได้ รวมไปถึงการเสนอสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจ (Decision-making) ง่ายขึ้น เช่น เลือกครอบฟัน (Crown) แบบไหนดี, การจัดฟัน (Orthodontics) มีเทคนิคกี่แบบและราคาเท่าใด, แนะนำการแปรงฟัน (Brushing teeth) ที่ถูกวิธี ทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ (Satisfaction) จากการถ่ายทอดข้อมูล (Information) อย่างเต็มที่ ก็เป็นการตลาด
    • การมีสื่อ (Media) ต่างๆ ให้ความรู้เรื่องฟัน อาจจะเป็นวิชาการ (Academic) หรือแนะนำ (Recommend) การบริการ ในลักษณะแผ่นพับ (Brochure), ใบปลิว (Leaflet), คลิปวิดีทัศน์ (Video) เป็นต้น
    • การสร้างพันธมิตร (Alliance) กับเพื่อนบ้าน (Neighbor) หรือธุรกิจที่ใกล้เคียง หรือการที่แพทย์แจกนามบัตรแนะนำตัว (Self-introduction) เวลาพบเจอกับผู้คน
    • การจับกลุ่มร่วม (Collaborate) กับคลินิกในละแวกไปทำบุญร่วมกันหรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Social activity) เช่น วันบ้านเด็กกำพร้า (Orphan-Home Day) ก็นับว่าเป็นการตลาดที่ดี

จะว่าไปแล้ว การตลาดคือการทำให้คนที่เราอยากให้เป็นลูกค้า รู้จัก (Aware) และเกิดความสนใจ (Interest) อยากซื้อขายสินค้าหรือบริการ ถ้าผู้ขายสามารถทำตัวตน (Identity) ให้ชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการคืออะไร และสามารถเชื่อมโยง (Link) ถึงผู้บริโภคได้ด้วยการสื่อสาร (Communication) ในนานารูปแบบทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างชัดเจน ย่อมเกิดการซื้อขายสินค้าและบริการ

การลดราคา (Discounted pricing) และ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) จึงเป็นเพียงส่วนเล็กๆ (Sub-set) ของการตลาดทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย มิใช่เรื่องเลวร้าย และเป็นวิธีทางการตลาดที่มีประสิทธิผล (Effectiveness) อย่างหนึ่ง แต่เราควรจะเรียนรู้เพิ่มเติมว่าจริงๆ แล้วยังมีอีกหลายองค์ประกอบ (Element) ที่มีความสำคัญมากกว่า 

  1. ทำฟันดีให้ดีก็พอ แล้วจะปากต่อปากเอง     

การเปิดคลินิกทันตกรรม (Dental clinic) ในสมัยก่อน ประโยคนี้เป็นความจริง (Truth) อย่างปฏิเสธไม่ได้

เนื่องจาก . . .

    • คลินิกยังไม่มากพอ คนไข้ไม่มีตัวเลือก (Choice) มากนัก
    • ความต้องการ (Demand) รับการรักษาสูง เพราะจำนวนทันตแพทย์มีน้อยมากๆ
    • ดังนั้น ในยุคก่อนๆ จึงเน้นอาศัยปากต่อปาก (Words of mouth) ก็จะเกิดการบอกต่ออัตโนมัติ (Automatically) แต่นานเข้ามีลูกค้าประจำ (Regular) มากขึ้น คลินิกทันตกรรมก็อยู่ได้ด้วยการมีฐานของลูกค้า (Customer base)ที่ค่อยๆ สร้างจากการทำฟันให้ดี เป็นกรณีๆ ไป
    • บางจังหวัดหรืออำเภอขนาดเล็ก ถ้ามีคลินิกทำฟันแห่งเดียว (Single) ย่อมนับว่าแทบจะผูกขาด (Monopoly) เลย

แต่ ณ วันนี้สภาพแวดล้อมและสังคมได้เปลี่ยนไปมาก เพราะ . . .

    • ทันตแพทย์ (Dentist) จบปีละ (Annual graduation) หลายหลายร้อยคน
    • รัฐเริ่มเกิดสภาวะไม่มีตำแหน่ง (Position) เพียงพอ เกิดสมองไหล (Brain drain) ออกสู่เอกชน
    • คลินิกมีมากขึ้นเป็นดอกเห็ด (Mushrooming) และทันแพทย์หลายท่านมีมากกว่า 1 คลินิก

แหล่งข้อมูล

  1. http://dentalbusinessblog.com/การตลาด-คลินิกทันตกรรม [2024, October 3].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, October 3].