13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 40

มีผู้รวบรวมจากคำถามของ Fan page และข้อสงสัย (Doubt) ที่ติดๆ ขัดๆ ออกมาสรุปเป็น 7 ข้อ ของความเข้าใจปรัมปรา (Myth) เกี่ยวกับการทำการตลาด สำหรับคลินิกทันตกรรม (Dental clinic)  อันได้แก่

  1. การตลาด (Marketing) คือการโฆษณา (Advertising) และส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion)
  2. ทำฟันดีให้ดีก็พอ แล้วจะปากต่อปาก (Words of mouth) เอง
  3. คลินิกทันตกรรมเอกชน (Private) ไม่ควรเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ (Commercialization) จนเกินไป
  4. ธุรกิจและการตลาด ทำลายจรรยาบรรณ (Code of ethics) และจริยธรรม (Morality) อันดีของทันตแพทย์
  5. เปิดคลินิก ยังไงก็ไม่เจ๊ง (Bankrupt)
  6. หมอทุกคนเหมาะเป็นเจ้าของคลินิกร่วมกัน (Co-ownership)
  7. เปิดคลินิกเล็กๆ ลงทุนน้อยๆ (Small investment) ก็พอ……..เผื่อเจ๊ง

1. การตลาด คือการโฆษณาและจัดโปรโมชั่น - พอนึกถึงคำว่าการตลาด เรามักจะนึกถึง การคิดราคา (Pricing) ค่าทำฟันถูกแสนถูก คนจะได้มาใช้บริการมากๆ, การส่งเสริมการตลาด (Marketing promotion) ด้วยการ ลด-แลก-แจก-แถม, การแจกใบปลิว (Leaflet), การเช่าป้ายโฆษณา (Bill board)ขนาดใหญ่ แต่แท้จริงแล้ว การตลาด มีความหมายมากกว่าแค่การโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด ยกตัวอย่างเช่น

  • การตั้งราคาค่าทำฟันให้เหมาะสมกับตำแหน่ง (Position) ที่วางไว้ ถ้าเป็นคลินิกที่เน้น (Focus) ตกแต่งหรูหรา (Luxurious decoration) และมีความเป็นส่วนตัว (Privacy) สูง พร้อมกับบริการเหนือระดับ (Superior service) ย่อมจะสามารถตั้งราคาค่าบริการสูงกว่าราคาเฉลี่ย (Average) ในตลาดได้ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ (ในเครือ กรุงเทพดุสิตเวชการ [Bangkok Dusit Medical Services: BDMS]) กล่าวคือ การคิดค้นสินค้าและบริการ (Service) ให้เหมาะสม (Appropriate) กับลูกค้า (ที่เราเลือกไว้) ในราคาที่สัมพันธ์กัน (Related) ก็เป็นการตลาดอย่างหนึ่ง
  • ลูกค้าย่อมมีหลายส่วนตลาด (Segment) แล้วแต่เราจะแบ่งแยก เช่น ตามอาชีพ (Occupation), ตามวัย (Age), ตามรสนิยม (Taste), ตามความต้องการรับการรักษา (Treatment choice), การเลือกสื่อสาร (Communication choice) กับกลุ่มใดกลุ่มอย่างเฉพาะเจาะจง (Specific) เพื่อให้ตรงกับกลุ่มนั้นก็เป็นการตลาด เช่น ถ้าส่วนตลาด จะเน้นการรักษาโรคเด็ก (Pediatric) ก็ย่อมที่จะต้องตกแต่งคลินิกด้วยตัวการ์ตูน และมีมุมของเล่น (Play corner) แม้แต่ชื่อคลินิกก็ควรจะอ่านทีเดียวแล้วรู้เลยว่าเป็นคลินิกสำหรับเด็ก ภาพลักษณ์ (Image) เช่นนี้จึงสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง ลูกค้าที่ต้องการพาลูกมารักษาย่อมเลือกที่จะมาคลินิกดังกล่าวมากกว่าไปคลินิกที่ไม่มีภาพลักษณ์ของความเป็นเด็กที่ชัดเจน (Visible)
  • ทุกแห่งย่อมมีคลินิกในละแวกที่ใกล้เคียงกัน (Proximity) หลายแห่ง เราจึงจำเป็นต้องทำให้เกิดความแตกต่าง (Differentiation) ความแตกต่างก็ตั้งแต่การตั้งชื่อที่ไม่ควรคล้ายกัน (Similar) เพื่อป้องกันการสับสน (Confusion) การทำตราสัญลักษณ์ที่โดดเด่น (Unique logo) และจดจำง่าย ไม่ซ้ำหรือโหล การทีสีตัวตึก (Building painting) ให้ไม่เหมือนตึกข้างเคียง (Neighboring) ยังรวมไปถึงการทำเว็บไซต์ (Website), การปักหมุด (Pin) ใน Google Map และการทำหน้าเฟสบุค (Facebook page) เพื่อให้เกิดความสะดวก (Convenient) ในการค้นหา (Search) นี่ก็คือการทำการตลาด
  • ลูกค้าที่มาทำฟัน เมื่อทำเสร็จย่อมต้องมีการติดตามผล (Follow up) หลังการทำฟัน การแจ้งย้ำเตือน (Remind) ว่าครบรอบการมาตรวจฟันขูดหินปูน (Tartar scrape-off) พร้อมกับสามารถแจ้ง (Inform) การส่งเสริมการตลาดตามเทศกาล ก็นับเป็นการตลาด

แหล่งข้อมูล 

  1. http://dentalbusinessblog.com/การตลาด-คลินิกทันตกรรม [2024, September 19].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, September 19]..