13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 34

ประโยชน์ (Benefit) ของงานวิจัยตลาดคลินิกทันตกรรม (Dental clinic) ในครั้งนี้

  • ประโยชน์ของงานวิจัยในเชิงวิชาการ (Academic research) – จากการศึกษาข้อมูลและงานวิชาการจากนานาแหล่ง (Source) พบว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ (Strategy), ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix), และการเตรียมพร้อม (Readiness) เพื่อรับมือในด้านทันตกรรมน้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์ (Analysis) ในระดับ อุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical industry) โดยรวม (Overview) และเป็นการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ (Quantitative) ดังนั้นผลการศึกษาจากงานวิจัยชิ้นนี้ จึงสามารถใช้เป็นแนวทาง (Guide-line) ในการศึกษาเกี่ยวกับคลินิกทันตกรรมในอนาคต (Future study) และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ (Applied) กับการพัฒนางานด้านทันตสาธารณสุข (Public health) ของประเทศ
  • ประโยชน์ของงานวิจัยในเชิงธุรกิจ (Business research) – จากผลการวิจัยทพให้ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจคลินิกทันตกรรม ทราบถึงความต้องการ (Demand) ของผู้ใช้บริการในส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) แต่ละด้าน และสามารถนำผลการศึกษา ไปพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดและประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เข้าใจผู้ใช้บริการในแต่ละกลุ่ม ที่มีความต้องการบางอย่างที่แตกต่างกัน (Differentiation) ออกไป ทำให้สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ (Product) และบริการที่ตรงใจกับผู้ใช้บริการอย่างแม่นยำ (Precision)

ข้อจำกัด (Limitation) ของงานวิจัย – ผลการศึกษาและผลสรุปของงานวิจัยที่ได้ศึกษาในครั้งนี้ มีข้อจำกัดดังต่อไป

  • ทิศทางในการทำส่วนผสมทางการตลาด - ผลการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ แสดงถึงภาพรวม (Overall) ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (Satisfaction) ของผู้ใช้บริการคลินิกทันตกรรม แต่ไม่สามารถระบุทิศทาง (Direction) ในการทำส่วนผสมทางการตลาดได้ชัดเจน เหมือนงานวิจัยเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจากงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยเชิงปริมาณในอนาคต
  • ความรู้ความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจคลินิกทันตกรรม - จากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเทคโนโลยี องค์ความรู้ (Body of knowledge) ใหม่ที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว จึงอาจส่งผลให้ความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้ที่ใช้ข้อมูลในงานวิจัยชิ้นนี้ จะต้องนำข้อมูลมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาของเทคโนโลยี และกับสถานการณ์ (Circumstance) ด้วย

ข้อเสนอแนะ (Recommendation) สำหรับงานวิจัยในอนาคต - เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลา งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ศึกษากลุ่มตัวอย่าง (Sample set) และร้านต้นแบบ (Prototype) ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ข้อมูลและผลการศึกษาจากงานวิจัยชิ้นนี้จึงสามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาธุรกิจคลินิกทันตกรรมได้เพียงบางส่วน

ดังนั้น ในอนาคต อาจจะศึกษากลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด ที่เหมาะสม (Appropriate) กับคลินิกทันตกรรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มาจากในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการชาวต่างชาติที่มาจากหลากหลายประเทศมากขึ้น ทำให้เข้าใจ ถึงความแตกต่างทางความคิด (Thought), ความต้องการ, ค่านิยม (Value), และวัฒนธรรม (Culture) ของประชากรในแต่ละประเทศ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ (Reliable) มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถศึกษากลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive) และวิธีการดำเนินงานจากคลินิกทันตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางปรับใช้กับธุรกิจคลินิกทันตกรรมได้อย่างสมบูรณ์ (Complete) มากขึ้น 

แหล่งข้อมูล

  1. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602115155_1243_332.pdf [2024, June 27].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, June 27].