13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 28

  • ผลการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) ของคลินิกทันตกรรม
    • ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) การบริการด้านทันตกรรมของคลินิกมีมาตรฐาน (Standard) ทั่วไปเช่นเดียวกับคลินิกอื่น ตัวอย่างเช่น การทำรากเทียม (Dental implant) หรือการจัดฟัน (Orthodontics) จะมีทันตแพทย์เฉพาะทาง ทำให้มีความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือมากกว่า นอกจากนี้ คลินิกทันตกรรมยังอาจมีห้องปฏิบัติการทันตกรรม (Dental laboratory) เป็นของตนเอง ทำให้สามารถคุมคุณภาพ (Quality) ได้ในทุกขั้นตอน รวมถึงสามารถควบคุมระยะเวลาได้เอง ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจ (Confidence) ได้ว่า จะได้รับการรักษาและชิ้นงานที่รวดเร็วกว่าคลินิกทันตกรรมอื่น
    • ด้านราคา (Pricing) เมื่อเปรียบเทียบราคาค่ารักษาพบว่า อัตราค่ารักษา (Charge) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับคลินิกทันตกรรมในโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง (Proximity) นอกจากนี้อัตราค่ารักษาของคลินิกยังมีทางเลือก (Alternative) ให้กับผู้ใช้บริการ ตัวอย่างเช่น การทำครอบฟัน (Crowning) ก็จะมีรูปแบบให้ กค้าเลือกตั้งแต่ระดับปรกติซึ่งใช้วัสดุเช่นเดียวกับคลินิกทันตกรรมทั่วไป ไปจนถึงระดับสูง (Premium) ที่ใช้ วัสดุรุ่นพิเศษ เป็นต้น
    • ด้านทำเลและสถานที่ (Pricing) สถานที่ตั้ง (Location) ของคลินิกอยู่ใจกลางเมืองบนถนนใหญ่ ติดกับสถานีรถไฟฟ้า (Sky train), ใกล้ธนาคาร, หรืออยู่ในห้างสรรพสินค้า โดยผู้ที่มาใช้บริการยังสามารถจอดรถ (Parking) ได้ที่บริเวณหน้าคลินก ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย Security guard) ที่คลินิกจ้างมาอำนวยความสะดวกให้ และหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด (Traffic congestion) ด้วยการ จึงสามารถสรุปได้ว่าท าเลที่ตั้งของคลินิกถือเป็นท าเลศักยภาพที่เหมาะแก่ การมาใช้บริการอย่างยิ่ง
    • ด้านส่งเสริมการขาย (Promotion) จากการสังเกตพบว่า คลินิกทันตกรรมส่วนมากไม่ได้ มีลด-แลก-แจก-แถม หรือสิทธิพิเศษที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สามารถต่อรองด้านราคาเป็นพิเศษได้กับทันตแพทย์โดยตรง ในบางกรณีที่เป็นงานชิ้นใหญ่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์แต่ละคนที่จะให้ราคาพิเศษหรือเพิ่มบริการบางอย่างโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มให้ นอกจากนี้ด้านส่งเสริมการขายอื่นๆ คลินิกอาจทำการโฆษณา (Advertising) ในนิตยสารแจกฟรี (Free magazine) สำหรับชาวต่างชาติ และมีเว็บไซต์ (Web-site) ซึ่งแสดง รายละเอียดการบริการและค่ารักษาโดยประมาณ
    • ด้านบุคลากร (Personnel) พนักงานส่วนมากที่อยู่หน้าเคาน์เตอร์ต้อนรับ (Reception) ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากที่สุด มีอัธยาศัยดี (Hospitality) สามารถอธิบายและตอบข้อสงสัยของลูกค้าได้ดี, ยิ้มแย้มตลอดเวลา, มีมารยาท (Manner)พูดจาดีและเอาใจใส่ลูกค้าทุกคน และที่สำคัญที่สุดคือพนักงานสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ได้ดีในระดับหนึ่งทำให้สามารถให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติได้ ในส่วนของทันตแพทย์ก็มีความเชี่ยวชาญ ทำงานคล่องแคล่ว และสามารถสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติได้ดีเช่นกัน

แหล่งข้อมูล

  1. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602115155_1243_332.pdf [2024, March 26].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, March 26].