13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 26

  • ภาพรวมความพร้อมของคลินิกทันตกรรม (Dental clinic) และทันตแพทย์ (Dentist) จากการสัมภาษณ์เจ้าของและผู้ประกอบการ (Entrepreneur) สามารถสรุปได้ว่า คลินิกทันตกรรมในประเทศไทยจะต้องมีการ ปรับตัว (Adjustment) อย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อรองรับผู้ใช้บริการชาวต่างชาติ (Foreigner) โดยเฉพาะคลินิกที่ให้บริการชาวไทยเป็นส่วนมาก แต่ในกรณีของคลินิกที่รองรับผู้ใช้บริการชาวต่างชาติอยู่แล้ว ก็จะมีความพร้อม (Readiness) ในระดับหนึ่งในการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
  • แผนการและแนวทางในการดำเนินกลยุทธ์ (Strategy) ในอนาคต จากการสัมภาษณ์เจ้าของและผู้ประกอบการ สามารถสรุปได้ว่า จะเน้นไป ที่ ตลาดเฉพาะ (Niche market) มากขึ้น กล่าวคือเน้นไปในเรื่องของทันตกรรมเฉพาะด้าน (Dental specialty) มากขึ้น ตัวอย่างเช่น สีที่เหมือนธรรมชาติในงานครอบฟัน (Crowning) ที่ผ่านมีการคิดค้นและพัฒนามาเป็นเวลาหลายปี ยากที่ใครจะเลียนแบบ (Imitate) ได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องต่อสู้กับคลินิกอื่นด้วยการตัดราคา สุดท้ายแล้วเมื่อพัฒนามาถึงจุดหนึ่งก็จะสามารถขยายสาขาผ่านการขายเป็นสัมปทาน (Franchise) ส่วนขายกระบวนการทำงาน (Process) คล้ายกับการซื้อประสบการณ์ ในการบริหาร คลินิกที่ซื้อระบบไปก็จะสามารถทำได้แบบเดียวกับคลินิกต้นแบบ (Prototype)
  • วิธีการและแนวทางการปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) สามารถสรุปได้ดังนี้
  • ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปรับปรุงและพัฒนาบริการด้านทันตกรรมที่สามารถสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ให้กับคลินิก เช่น งานครอบฟันที่เกี่ยวกับความสวยความงาม (Aesthetics) โดยมีทันตแพทย์เข้าไปดูแลทุกขั้นตอน เพื่อให้ชิ้นงานที่ออกมามีความพิเศษ เช่นงานครอบฟัน ตัวฟันจะมีความสวย, สีใส, พอดี, และแนบชิด รวมถึงเพิ่มทางเลือก (Alternative) ให้กับผู้ใช้บริการให้มีหลากหลาย (Variety) ราคาและวัสดุ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในทุกระดับ โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง นอกจากนี้ยังเน้นการปรับปรุง (Improve) บริการให้มีความรวดเร็ว ทำให้คนไข้ไม่เหนื่อย, ไม่ต้องอ้าปากนาน, และมีแผนการในการเพิ่มทางเลือกให้กับคนไข้
  • ด้านทำเลและสถานที่ (Place) จะเน้นพัฒนาและขยายพื้นที่ให้บริการสถานที่ตั้งในปัจจุบันของคลินิกซึ่งอาจเป็นตึกแถว, ติดถนนใหญ่, และใกล้รถไฟฟ้า (Sky train) เมื่อคลินิกต้นแบบมีความพร้อมในระดับหนึ่งแล้ว ในอนาคตก็จะใช้การขายแบบสัมปทาน ให้กับทันตแพทย์หรือผู้ประกอบการที่สนใจแทนการขยายสาขา
  • ด้านราคา (Pricing) จะเน้นรักษาระดับราคาให้คงที่ แต่จะมีการปรับใช้นโยบายหลายราคา มีทั้งราคาปรกติ และราคาที่สูงขึ้นไป (Premium) ตามแต่วัสดุทันตกรรม (Dental supplies) ที่ใช้รักษาเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า และเพื่อให้คนไข้ที่มีฐานะทางการเงิน (Financial status) ต่างกัน ยังสามารถใช้บริการคลินิกต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างโอกาส (Opportunity) ในการทำกำไรกับลูกค้าที่มีรายได้สูงอีกด้วย (High-incomer earner)

แหล่งข้อมูล

  1. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602115155_1243_332.pdf [2024, February 20].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, February 20].