13. ตลาดคลินิกทันตกรรม – ตอนที่ 24

6. ผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการคลินิกทันตกรรมที่เปิดดำเนินการให้บริการอย่างน้อย 10 ปี

  • ภาพรวมและการบริหารจัดการคลินิกทันตกรรมให้ประสบความสำเร็จ จากการสัมภาษณ์เจ้าของและผู้ประกอบการคลินิกทันตก สามารถสรุปได้ว่า ค่านิยม (Value) ส่วนมากของคนในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไป เน้นที่เรื่องของคุณภาพ (Quality) มากกว่าราคา (Pricing) ดังนั้นแนวทางในการบริหารจัดการคลินิกจึงเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนที่เน้นราคาถูก มาเน้นเรื่องคุณภาพของงานทันตกรรม (Dental work) มากขึ้น ทำให้สามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น ในขณะที่ลูกค้าเต็มใจจ่าย (Willing to pay)
  • ส่วนผสมทางการตลาดในแต่ละด้านได้ดังนี้ 
    • ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) การบริการทางด้านทันตกรรมมีความเป็นมาตรฐาน (Standard) และครบวงจรเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ ตั้งแต่ทันตกรรมเพื่อการรักษาทั่วไปเช่น ถอนฟัน (Extraction), อุดฟัน (Filling), ขูดหินปูน (Plaque-scaling) เป็นต้น และทันตกรรมด้านความงาม(Aesthetics) เช่น การทำครอบฟัน (Crowning), ฟันปลอม (Denture), เคลือบฟันเทียม (Enamel), จัดฟัน (Orthodontics) และทันตกรรมรากเทียม (Implant) เป็นต้น โดยในแต่ละด้านจะมีหมอเฉพาะทาง (Dental specialist) ที่มีความเชี่ยวชาญและเรียนจบเฉพาะด้านดูแล เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ นอกจากนี้ ยังเน้นใช้เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและล้ำหน้า (Advanced) กว่าคู่แข่ง รวมถึงมีห้องปฏิบัติการทันตกรรม (Dental laboratory) ของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นธาร (Up-stream) จนถึงปลายธาร (Down-stream) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้สามารถให้การารับประกัน (Guarantee) ผลงานกับผู้ใช้บริการได้
    • ด้านทำเลและสถานที่ (Place) สถานที่ตั้ง (Location) ของคลินิก อาจเป็นตึกแถวบนติดถนนใหญ่ และใกล้กับรถไฟฟ้า (Sky train) สามารถเข้า-ออกคลินิกได้ทั้ง 2 ทาง เพิ่มความสะดวกสบายในด้านต่างๆ เรื่องของการเดินทาง ทั้งรถสาธารณะ (Public transportation) และรถยนต์ส่วนตัว โดยมีที่จอดรถ (Parking) บริเวณหน้าคลินิกและมีพนักงานรักษาความปลอดภัย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ และอยู่บริเวณใจกลางเมือง ทำให้อยู่ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านอาหารและห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
    • ด้านราคา (Pricing) กลยุทธ์การตั้งราคาของคลินิกใช้การอ้างอิงจากราคาคู่แข่งในย่านเดียวกัน และ โรงพยาบาลเอกชนในบริเวณใกล้เคียง (Nearby private hospital) เน้นกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางตอนปลายจนถึงสูง (Middle-to-high incomes) และด้วยคุณภาพของการรักษาที่อยู่ในระดับดีมากทำให้สามารถตั้งราคาได้สูง แต่เมื่อเปรียบเทียบราคาของโรงพยาบาลเอกชน ราคาของคลินิกจึงค่อนข้างถูกกว่าและสมเหตุสมผล (Reasonable) มากกว่า
    • ด้านส่งเสริมการขาย (Promotion) กลยุทธ์ในการส่งเสริมการขายของคลินิก ไม่ได้เน้นในการโฆษณา (Advertising) ผ่านทางช่องทาง (Chennel) ต่างๆ มากนัก จะมีแค่เว็บไซต์ (Web-stie) ของคลินิกและการโฆษณาในนิตยสารแจกฟรี (Free magazine) สำหรับชาวต่างชาติ แต่เน้นการบอกต่อ (Words of moth) ของลูกค้าเป็นส่วนมาก และเน้นที่คุณภาพของการให้บริการเพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีและแตกต่าง (Differentiate) จากคลินิกอื่นๆ ทำให้คลินิกไม่ต้องแข่งขันด้านราคากับคู่แข่ง 

แหล่งข้อมูล

  1. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2014/TU_2014_5602115155_1243_332.pdf [2024, January 23].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Services_marketing [2024, January 23].