9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 41
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 30 กันยายน 2567
- Tweet
ด้วยเหตุนี้บนเงื่อนไข (Condition) ดังกล่าว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Center of Economic Analysis) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) จึงประเมินศักยภาพ (Potential) ของการเข้ารับการรักษาพยาบาลผ่านรูปแบบ (Model) การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในปี พ.ศ. 2566 ได้ช่วยเพิ่มจำนวนการเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอก (Outpatient) ได้
วิธีนี้จะตอบโจทย์จากความสะดวก (Convenience) ที่ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องเสียต้นทุนแฝง (Hidden cost) อื่น ๆ เช่น ค่าเดินทาง(Travel expense) และการลางาน (Absence from work) ที่อาจกระทบ (Impact) ต่อผลการประเมิน (Assess) ประสิทธิภาพ (Efficiency) งานในแต่ละปี
ดังนั้น จึงทำให้เพิ่มโอกาส (Opportunity) การเข้ารับบริการทางการแพทย์ (Medical service) ประมาณ 15 ถึง 20% หรือ 7 ถึง 8 ครั้งต่อปี จากเดิมที่มีการเข้ารับบริการเพียง 5 ถึง 6 ครั้งต่อปี และคาดว่า (Forecast) จะช่วยสร้างเม็ดเงินให้กับอุตสาหกรรมโรงพยาบาลเอกชน (Private-hospital industry) ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4,000 ถึง 6,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ รูปแบบการให้บริการในการดูแลรักษาผ่านการแพทย์ทางไกล ยังคงมีศักยภาพสูงในการขยายตัว (Expansion) บนมิติ (Dimension) ต่างๆ ตามช่วงระยะเวลา (Timeline) ดังนี้
- การขยายตัวในแนวดิ่ง (Vertical) ผ่านการข้ามผลิตภัณฑ์ (Cross-product) เช่น การให้บริการการแพทย์ทางไกล ในการรักษาที่ไม่ต้องทำหัตถการ (Procedure) โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการการรักษาบำบัดด้านความเครียด (Stress therapy) ที่มีจำนวนมากขึ้นในระยะหลัง ซึ่งสอดคล้องกับข้อได้เปรียบ (Advantage) ของการให้บริการผ่าน การแพทย์ทางไกล ในมิติของความสะดวก (Convenience) ด้านเวลาและความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี
- การขยายตัวในแนวนอน (Horizontal) เมื่อผู้ให้บริการมีความพร้อม (Readiness) สูงขึ้นจนสามารถเข้าสู่ระยะเติบโต (Growth stage) โดยขยายการบริการให้ครอบคลุม (Cover) มากขึ้น เช่น การบริการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติทางการแพทย์ (Laboratory test) ถึงสถานที่พักอาศัย (Residence)
- การเข้าสู่ระยะการเติบโตในอัตราเร่ง (Accelerate) ศักยภาพ (Potential) ของบริการการแพทย์ทางไกล ที่ครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มโอกาสการขยายบริการเข้าสู่กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งนอกเหนือจากประกันสุขภาพกลุ่ม (Group health insurance) แล้ว เมื่อระบบการแพทย์ทางไกล สามารถพัฒนาถึงการครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพทั่วหน้า (Universal coverage หรือ บัตรทอง (Gold card) หรือ กลุ่มผู้ป่วยประกันสังคม (Social security) ได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการยกระดับ (Raise) ศักยภาพระบบสาธารณสุข (Public health system) ของประเทศไทย เนื่องจาก ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งมีจำนวนผู้ป่วยหนาแน่น (Congestion) เกินศักยภาพที่รองรับได้จนเกิดปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) ได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งหากระบบการแพทย์ทางไกล สามารถลดจำนวนผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มเจ็บป่วยเล็กน้อย (Minor illnesses) และกลุ่มติดตามอาการ (Follow-up) ครอบคลุมทุกสิทธิ์ชดเชย (Claim reimbursement) การรักษาจะเป็นการช่วยลดความหนาแน่นของผู้ป่วยในแต่ละโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ในภาพรวม (Overall) ของธุรกิจสุขภาพไทย การแพทย์ทางไกลจะเป็นปัจจัยพลิกโฉม (Transform) รองรับผู้ป่วยนอกได้ดีขึ้น โดยปี พ.ศ. 2566 ได้เริ่มขับเคลื่อน (Drive) ผ่านระบบประกันสุขภาพกลุ่มเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพไปสู่การให้บริการกับกลุ่มคนอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ ยังทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การขนส่ง (Logistics) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) ขยายตัวรองรับการเติบโตด้วยเช่นกัน
แหล่งข้อมูล –
- https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/telemedicine-2566 [2024, September 29].
- https://www.fitchsolutions.com/bmi/topics/megatrends [2024, September 29].