9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 40

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Center of Economic Analysis) หรือ ttb analytics คาดว่า (Predict) ธุรกิจการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) จะสร้างรายได้ส่วนเพิ่ม (Incremental revenue) ให้กับอุตสาหกรรมสุขภาพ (Health industry) ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ประมาณ 4 ถึง 6 พันล้านบาท จากระบบประกันสุขภาพกลุ่ม (Group health insurance) ที่เอื้ออำนวย (Facilitate) ต่อการเข้ารับบริการ

ทั้งนี้คาดว่าธุรกิจการแพทย์ทางไกล ยังมีศักยภาพ (Potential) ขยายตัวต่อเนื่อง (Continuous expansion) ทั้งในมิติของการเพิ่มศักยภาพและการขยายขอบเขตในการให้บริการ (Scope of service)

การแพทย์ทางไกล คือ นวัตกรรม (Innovation) บริการทางการแพทย์ผ่านเทคโนโลยีการประชุมออนไลน์ (Video-conference) เป็นบริการทางการแพทย์ที่ช่วยลดข้อจำกัด (Limitation) ด้านเวลาในการเข้าถึง (Access) ระบบการรักษาพยาบาล และการลดต้นทุนแฝง (Hidden cost) เช่น การขาดงาน (Absence from work) และค่าเดินทาง (Travel expense)

รวมถึงประโยชน์ (Advantage) ในมิติของความสะดวก (Convenience), สบาย (Comfort), และความเป็นส่วนตัว (Privacy) กอปรกับสถานการณ์ที่กดดัน (Pressure) จากช่วงการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้การรับการรักษาพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Minor illnesses) และกลุ่มติดตามอาการ (Follow-up)

ใน 2 กลุ่มดังกล่าว เริ่มถูกปรับรูปแบบการให้บริการแบบการแพทย์ทางไกล เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Rapid growth) ส่งผลให้ตลาดทั่วโลก (Global market) ของการแพทย์ทางไกลทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่า (Value) สูงขึ้นแตะ 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 67.9 แสนล้านบาท) สูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2562 ที่ 4.99 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 174.65 หมื่นล้านบาท)

นอกจากนี้ บนความก้าวหน้า (Advancement) ทางเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับ (Raise) ศักยภาพการแพทย์ทางไกลให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในคนไข้กลุ่มติดตามอาการ ส่งผลให้ตลาด การแพทย์ทางไกล ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2568 มูลค่าตลาดจะขยับขึ้น (Improve) แตะ 2.78 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 97.3 แสนล้านบาท)

เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ (Situation) ของประเทศไทย พบว่า ตลาดการแพทย์ทางไกลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น (Early stage) ในเรื่องความพร้อม (Readiness) ของผู้ให้บริการ (Service provider) และการตอบรับของผู้ใช้บริการ (Service recipient) ที่คาดว่าจะขับเคลื่อน (Drive) ผ่านระบบประกันสุขภาพกลุ่มเป็นลำดับแรก ซึ่งมีกว่า 2.6 ล้านกรมธรรม์ ในปี พ.ศ. 2565

ปรากฏว่า เริ่มมีการตอบรับการใช้สิทธิ์ชดเชย (Claim reimbursement) ผ่านระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อเข้ารับบริการการดูแลรักษาในฐานะผู้ป่วยนอก (OPD) โดยผู้ป่วยไม่ต้องสำรองจ่าย (Advance) ประกอบกับกลุ่มการเจ็บป่วยเล็กน้อย และกลุ่มติดตามอาการ (Follow-up) ที่รักษาโดยไม่ต้องรับการหัตถการ (Procedure) จากบุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) หรือ กลุ่มที่รับการรักษาโดยการรับประทานยา (Medication)

นอกจากนี้ ตลาดการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยยังได้รับอานิสงส์ (Benefit) จากกลุ่มธุรกิจขนส่งบรรจุภัณฑ์ (Third-party logistics: 3PL) ที่มีพื้นที่บริการครอบคลุม (Cover) เกือบทั้งหมดในจังหวัดหลัก (Primary province) ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการจัดส่ง (Distribution) ยาและเวชภัณฑ์ให้ถึงมือผู้เข้ารับบริการการแพทย์ทางไกล ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังการเข้ารับบริการ

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/การแพทย์ทางไกล-2566 [2024, September 15].
  2. https://www.fitchsolutions.com/bmi/topics/megatrends [2024, September 15].