9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 29

ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ก็เริ่มมีการใช้การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มขึ้น อาทิ โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่นำนวัตกรรม (Innovation) ROBO DOCTOR หรือคุณหมอหุ่นยนต์จากสหรัฐอเมริกา มาใช้ร่วมกับโรงพยาบาลในเครือ (Network) 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา, โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน, และโรงพยาบาล กรุงเทพภูเก็ต

โดยเริ่มนำร่อง (Pilot) ใช้สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมอง (Brain) และระบบประสาท (Nervous system) โดยเฉพาะโรคหลอด เลือดสมอง (Stroke) ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลาง, โรงพยาบาลเครือข่าย, รวมถึงผู้ป่วยและญาติ สามารถซักถามโต้ตอบ กัน (Interactive) แบบเห็นหน้า (Face-to-face) ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data exchange) การรักษาในเวลาจริง (Real time)

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เริ่มนำระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) “Raksa-ป่วยกัก รักษา” มาให้บริการปรึกษา ทางด้านสุขภาพ โดยมีอัตราค่าบริการ 2 รูปแบบ คือ ผ่านโทรศัพท์ หรือผ่านการประชุมวีดิทัศน์ (Video conference) ระยะเวลา 15 นาที คิดราคา 300 - 500 บาท/ครั้ง และการให้บริการคำปรึกษาผ่านทางข้อความ 200 บาท/ครั้ง10

ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดการสนับสนุน (Support) การใช้งานอย่างครบวงจร การให้บริการการแพทย์ทางไกลดังกล่าว จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยง (Connection) กับภาคประกันสุขภาพ (Health insurance) ด้วย ซึ่งบริษัทประกันภัยภายในประเทศไทยได้มีการเตรียมตัว รองรับการบริการดังกล่าวแล้ว

ตัวอย่างเช่น เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) มีนโยบาย “MTL Everyday Life Partner” ร่วมกับโรงพยาบาล 4 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลเทพธารินทร์ (เฉพาะ โรคเบาหวานและโรคหัวใจ), โรงพยาบาลนครธน, และโรงพยาบาลพระราม 9 โดยการประกันชีวิต จะครอบคลุมการใช้บริการการแพทย์ทางไกลด้วย

ผู้เอาประกันสามารถรับบริการรักษาโรคเรื้อรัง (Chronic) ได้ โดยครอบคลุมการพบแพทย์ (Consultation) และการสั่งยา (Prescription) เสมือนกับการเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลแบบปรกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึง ความหลากหลาย (Variety) และความครอบคลุม (Coverage) แล้ว ยังพบว่า การให้บริการยังกระจุกตัว (Concentrate) อยู่เฉพาะบางกลุ่มโรคและบางกลุ่มโรงพยาบาลเท่านั้น

สาเหตุอาจะเป็นเพราะโรงพยาบาลที่ให้บริการดังกล่าว ยังกระจุกตัวอยู่ทั้งจำนวนสถานพยาบาล, กลุ่มโรค, และจำนวนผู้รับบริการ (Service recipient) ด้วย ซึ่งทั้งผู้ให้บริการ (Service provider), สถานพยาบาล, และบริษัทประกันชีวิต ยังต้องพัฒนาต่อเนื่องเพื่อให้การใช้บริการการแพทย์ทางไกล เกิดความสะดวกและรวดเร็วต่อผู้รับบริการมากที่สุดในอนาคต

แม้ว่าการแพทย์ทางไกล จะเป็นธุรกิจใหม่ที่จะมีการเติบโต (Growth) อย่างมาก แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ (Entitlement) ของผู้รับบริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล ว่าผู้รับบริการยังคงสามารถรักษาสิทธิ เช่นเดียวกับการรักษาแบบดั้งเดิม (Conventional) หรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านการคุ้มครองความปลอดภัย (Security) ของข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal health data) และ การให้ความยินยอม (Permission) ก่อนเข้ารับการรักษาสุขภาพผ่านระบบการแพทย์ทางไกล

ดังนั้น หากมีการนำระบบการแพทย์ทางไกล มาใช้ในธุรกิจเพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรมีข้อกำหนด (Rules and regulations) หรือ มาตรการทางกฎหมาย (Legal measure) ที่ระบุถึงสิทธิดังกล่าวของผู้รับบริการที่ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการตีความ (Interpretation) และการฟ้องร้อง (Law-suit) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.dtn.go.th/th/file/get/file/1.20220401257312f3ccc00194a97ffbf4cf580e5c104518.pdf [2024, March 29].
  2. https://www.marketdataforecast.com/ [2024, March 29].