9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 28

เหตุผลก็เพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษา, บรรเทา (Alleviate) ความวิตกกังวล, และเพิ่มความสะดวก (Facilitate) ในการให้บริการผู้ป่วย โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 การลดระยะเวลาในการเดินทาง (Travel), การรอคิว (Waiting), และลดความแออัด (Crowdedness ในโรงพยาบาลหรือสถานบริการด้วย

ทั้งนี้ ในประเทศจีน ได้มีการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) เช่น Ping An Good Doctor เพื่อให้บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) รวมถึงมีบริการจัดยาตามคำสั่ง (Prescription) แพทย์และส่งถึงที่พัก (Residence) โดยมีผู้ใช้บริการผ่าน App. กว่า 3๐๐ ล้านบัญชี และ มีผู้ขอให้บริการดังกล่าวถึงวันละ 7 แสนครั้ง

ในด้านการติดตาม (Monitor) ผู้ป่วยระยะไกล คือ การนำเอาอุปกรณ์ตรวจวัดการทำงานของร่างกาย เช่น เครื่องวัดความดัน (Blood-pressure), อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate, และอุณหภูมิ (Temperature) ร่างกาย มาติดตั้งในสถานที่พักหรือพกติดตัว (Portable) แล้วส่ง (Transmit) ข้อมูลไปยังแพทย์โดยตรง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินอาการและการรักษา

เครื่องมือเหล่านี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง (Bed-ridden), ผู้ป่วยเรื้อรัง (Chronic) และผู้สูงอายุ (Elderly) ที่มีญาติหรือผู้ดูแลคอยติดตาม (Follow-up) ตรวจสอบข้อมูลและส่งผลให้กับแพทย์ประจำตัว และสำหรับการผ่าตัดระยะไกล (Distant surgery) เป็นการใช้หุ่นยนต์ (Robot) และเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยเฉพาะที่มีระดับสูงที่มีความแม่นยำ (Precision) เข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพการผ่าตัดคมชัด และแสดงผลในเวลาจริง (Real time) มากขึ้น เพื่อให้แพทย์ผู้ผ่าตัด (Surgeon) สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ (Innovative robot) ชื่อ Da Vinci Surgical System

หุ่นยนต์ดังกล่าว ใช้ในการผ่าตัดกรณีแพทย์ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะที่ทำการรักษาได้ถนัด โดย Da Vinci มีความสามารถที่จะมองเห็นได้กว้างและละเอียด (Detail) ในรูปแบบ 3 มิติ (3-Dimension) มีความแม่นยำที่ทำให้เกิดแผลเล็ก (Small incision) และเกิดความช้ำต่อเนื้อเยื่อต่างๆ น้อย

ปัจจุบันจึงนิยมนำ Da Vinci มาใช้ในการผ่าตัดมดลูก (Uterine), ผ่าตัดต่อมลูกหมาก (Prostate), และผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve repair) รวมแล้วมากกว่า 10,000 ครั้ง นอกจากนั้น ยังได้มีการสำรวจผู้ป่วยที่ผ่าตัดมดลูกด้วย Da Vinci จำนวน 105 ราย พบว่าผู้ป่วยเสียเลือดจากการผ่าตัดและใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น (Recovery) น้อยกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องปรกติ

บทวิเคราะห์ ในส่วนของประเทศไทย มีการนำเอาการแพทย์ทางไกล เข้ามาให้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งได้มีการกำกับดูแลให้มีมาตรฐาน (Standard) เพื่อความปลอดภัยสูงสุด (Maximum safety) แก่ประชาชน การให้ความสะดวกในการรับบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่ซับซ้อน (Uncomplicated)

รวมทั้งการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้รับบริการ (Service recipient) การแพทย์ทางไกล โดยกระทรวงสาธารณสุข (Public Health Ministry) ได้ออกประกาศ เรื่อง “มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาล โดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล พ.ศ. 2564”

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.dtn.go.th/th/file/get/file/1.20220401257312f3ccc00194a97ffbf4cf580e5c104518.pdf [2024, March 15].
  2. https://www.marketdataforecast.com/ [2024, March 15].