9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 23

ปัจจุบัน ในภาวะที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับโรคระบาด (Pandemic) จาก ไวรส Covid-19 ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) มีภาระ (Burden) ที่ต้องรักษาผู้ป่วย (Patient care) มากขึ้น ในบางครั้งการเดินทาง (Travel) ไปที่โรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรคทั่วโป (General diseases) หรือโรคที่ต้องการใช้การรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง (Specialty treatment)

ทั้ง 2 กรณี อาจเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง (Risk) ต่อการแพร่กระจาย (Wide-spread) ของเชื้อโรค ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital) ในปัจจุบันทำให้ข้อจำกัด (Limitation) ในการเดินทางลดลง ระบบการแพทย์ก็เช่นกัน โรงพยาบาลสามารถลงทุน (Invest) ในด้านระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine)

ทั้งนี้ เพื่อจัดการให้บริการทางด้านสาธารณสุข (Public-health service) แก่ผู้รับบริการเพื่อลดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ (Geographical) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data exchange) ที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย (Diagnosis), การรักษา (Treatment) และการป้องกันโรค (Prevention)

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการศึกษาวิจัย (Research) เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อเนื่อง (Continuous education) ของบุคลากรทางการแพทย์ ระบบนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิผล (Effective) คุ้มต่อการลงทุน เนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่าย (Expenditure) ในการรักษาพยาบาลโดยรวม และเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการรักษา

เหตุผลหลักก็คือ การใช้บุคลกรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล (Inter-hospital resource-sharing) อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลา (Time reduction) ของแพทย์ ในการเดินทาง มาเพื่อรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลได้ (Length of stay: LOS)

ผู้ป่วยจะสะดวกสบาย (Convenient( มากขึ้นเพราะไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลมาที่โรงพยาบาลจังหวัด (Provincial hospital) หรือโรงพยาบาลศูนย์ (Regional hospital) ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Medic specialist) ลดความเครียด (Stress) ของผู้ป่วยจากการเดินทางได้อีกด้วย

โรงพยาบาลสามารถทลาย (Eliminate) ข้อจำกัดด้านการรักษาและการสื่อสาร (Communication) ด้วยระบบบริการการแพทย์ทางไกล ใน 3 ประการดังนี้

  1. เพิ่มประโยชน์สำหรับผู้ป่วย (Patient benefit) – การเดินทางสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเคลื่อนไหว (Immovable) จะไม่เป็นอุปสรรค (Obstacle), ลดเวลาการรอคอย (Waiting time), และสามารถติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง (Continuous follow-up) และมีความง่ายรวดเร็ว (Ease and Speed) อีกทั้งขยายขีดความสามารถ (Capacity) ในการเข้าถึง (Access) การรักษาพยาบาล เพิ่มโอกาสของการรักษาในกรณีฉุกเฉิน (Emergency) เร่งด่วน (Urgent) ที่ต้องแข่งขันกับเวลา (Compete against time) 

แหล่งข้อมูล

  1. https://cimjournal.com/special-articles/health-telemedicine/ [2024, January 5].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Telehealth [2024, January 5].