9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 20

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ให้คำจำกัดความของคำว่า “การแพทย์ทางไกล” (Tele-medicine) หมายถึง การจัดให้บริการด้านสาธารณสุข (Public health) แก่ประชาชนที่อยู่ห่างไกล (Distance)โดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information technology and communications: ITC)

จุดประสงค์ ก็เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data exchange) ที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย (Diagnosis), การรักษา (Treatment) และการป้องกันโรค (Prevention) รวมถึงการศึกษาวิจัย (Research) อย่างต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์

จากคำจำกัดความของ WHO ก่อนหน้าการระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 ยิ่งในพื้นที่ปรกติ มิใช่พื้นที่ห่างไกล การคมนาคมเป็นไปโดยสะดวก การแพทย์ทางไกล มีบทบาท (Role) ไม่มาก และภาพรวมทุกพื้นที่มีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อย (Gradual development) ไป

แต่เมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 โรงพยาบาลหลายแห่งและตัวผู้ป่วยเองหันมาให้ความสนใจ (Attention) แก่การบริการการแพทย์ทางไกลมากขึ้น ล่าสุดมีข่าวจากรัฐบาลจีนว่า จะให้โรงพยาบาลรัฐบาลให้บริการแบบการแพทย์ทางไกล สูงถึง 70% ในขณะที่โรงพยาบาลอีกหลายประเทศก็มีความเคลื่อนไหว (Movement) ในทิศทาง (Direction) เดียวกัน

รูปแบบของการแพทย์ทางไกล ตามลักษณะการรับส่ง-ข้อมูล แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. แบบ Real-time video เป็นการตรวจรักษาผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video conference) ช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถสื่อสารพูดคุยตอบโต้กัน (Inter-active) ได้ในระหว่างที่ตรวจ โดยแพทย์สามารถซักประวัติ, สอบถาม, และสังเกต (Observe) อาการ เพื่อวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย ปัจจุบันโรงพยาบาลบางแห่งเสริม (Supplement) การรักษาเพื่อให้การบริการครบวงจร (One-stop service) มากขึ้น เช่น บริการเจาะเลือด (Phebotomy), ฉีดวัคซีน (Vaccination), และจัดส่งยา (Drug delivery)
  1. แบบ Remote patient monitoring เป็นการติดตามอาการของผู้ป่วยจากระยะไกล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic) เช่น โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง (Hyper-tension), โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคหอบหืด (Asthma) หรือผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลแต่ต้องติดตามอาการ โดยผู้ป่วยจะสวมอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable) หรืออุปกรณ์ตรวจวัด (Measure) การทำงานของร่างกายรูปแบบต่างๆ เพื่อติดตามค่าทางสุขภาพ (Health indices), อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart-beat rate), อัตราการหายใจ (Respiratory rate), ปริมาณน้ำตาลในเลือด (Blood sugar level), ค่าความดัน (Pressure) และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพ โดยเมื่อแพทย์ได้รับค่าสุขภาพที่ต้องใช้แล้ว จะสามารถดูความผิดปกติ และวางแผนการรักษาได้ทันเวลาก่อนผู้ป่วยจะวิกฤติ (Critical)
  1. แบบ Store and forward เป็นการจัดเก็บ (Store) และส่ง (Transmit) ต่อข้อมูลด้านการแพทย์ของผู้ป่วยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียน (Medical record), ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ภาพเอกซเรย์ (X-ray) ไปให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์วินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาพยาบาล (Treatment planning) ซึ่งกรณีนี้แพทย์จะไม่สามารถซักประวัติหรือตรวจร่างกายของผู้ป่วยได้โดยตรง

แหล่งข้อมูล

  1. https://cimjournal.com/special-articles/health-telemedicine/ [2023, November 24].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Telehealth [2023, November 24].