จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 417-ทฤษฎีคำจำกัดความ และต้นแบบ (1)

หลายคนอาจลืมปัญหาที่พบเจอตอนเด็ก ว่าเราสามารถจำแนกสายพันธุ์สัตว์ที่แตกต่างกันได้อย่างไร เช่น สามารถรับรู้ได้ว่าหมานั้น ไม่ใช่แมวหรือกระต่าย และสิ่งที่ทำให้เราสามารถจำแนกเรื่องพวกนี้ได้ ก็คือการสร้างความคิดเป็นแนวทางสำหรับการจัดหมวดหมู่ เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งของ, เหตุการณ์, สัตว์, หรือผู้คน โดยอยู่บนพื้นฐานของประเภท, ลักษณะ (Feature), หรือนิสัย (Habit) ที่พวกมันแสดงออกให้เห็นได้ทั่วไป

การที่คนเราสร้างแนวคิดเพื่อจำแนกหมา, แมว, หรือกระต่าย สามารถอธิบายได้เป็น 2 อย่าง คือทฤษฎีคำจำกัดความ (Definition theory) และทฤษฎีต้นแบบ (Prototype theory)

คนเราสามารถจำสัตว์ที่เราเคยเห็นได้ โดยสามารถแยกแยะประเภทได้อย่างไร คำตอบคือสมองของคนเราจัดเก็บมากกว่า 100 คำจำกัดความเกี่ยวกับสัตว์เอาไว้ ทฤษฎีคำจำกัดความ กล่าวว่า การที่คนเราสร้างแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งของ, เหตุการณ์ (Event), สัตว์, หรือผู้คน โดยการจัดเรียงรายการของลักษณะที่สำคัญของแต่ละอย่างบนสิ่งเหล่านั้น

ในทฤษฎีคำจำกัดความ คนเราสร้างแนวคิดเกี่ยวกับหมา, แมว, หรือกระต่าย โดยการเรียนรู้ลักษณะที่สำคัญของสัตว์พวกนี้ เช่นหมาเป็นสัตว์ที่เห่าแล้วมีจมูกยาว, มีตาและจมูก 2 ข้าง, มี 4 ขา, มีขนและหาง ในมุมมองที่คล้ายกัน เราได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญในสัตว์ประเภทอื่นๆ

เราสามารถใช้แนวคิดข้างต้นเกี่ยวกับลักษณะของสัตว์มากมายในสมอง เพื่อใช้จำแนกแต่ละประเภทของสัตว์ได้ ซึ่งเมื่อไรที่เราเจอคำจำกัดความของสัตว์แต่ละประเภท เราก็จะสามารถจำแนกประเภทของสัตว์นั้นๆ ได้

แม้ว่าทฤษฎีคำจำกัดความ ฟังดูมีเหตุและผล แต่มีปัญหา 2 ข้อ เริ่มจากข้อแรก คือมันมีคุณสมบัติที่เยอะเกินไป (Too many features) โดยในชีวิตจริงการจัดลำดับคุณสมบัติต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อคำจำกัดความของสิ่งของเป็นเรื่องที่ยากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น หากเราเรียงคุณสมบัติของหมาออกมาได้ไม่หมด อาจทำให้เราสับสน (Confuse) ระหว่างหมาป่า, หมาจิ้งจอก, และตัวเหม็น (Skunk)

หากคนเราได้เรียงรายการคุณสมบัติทั้งหมดของหมา อาจทำให้รายการในสมองของเรามีความสมบูรณ์(Complete) แต่มันต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าที่คนเราจะเรียบเรียงและนำมาใช้ได้

ข้อ 2 มันเป็นสิ่งที่มีข้อยกเว้นมากเกินไป (Too many exceptions) หลังจากรวบรวมคุณสมบัติทั้งหมด เพื่อจำแนกอะไรบางอย่าง คนเราจำเป็นต้องทำรายการเกี่ยวกับข้อยกเว้นอีกมากมาย กว่าจะสามารถหาได้จากพจณานุกรม (Dictionary)

ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการแยกแยะเกี่ยวกับหมา หมาบางตัวอาจไม่ค่อยเห่า หรือมีขนาดตัวที่เล็กมาก บางตัวก็อาจมีขนาดใหญ่และไม่มีขน หรือบางตัวก็อาจมีขนฟู ด้วย

ปัญหา 2 อย่างนี้ ทำให้คนเราต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและข้อยกเว้นต่างๆ ก่อนที่เราจะสร้างแนวคิดเพื่อจำแนกอะไรบางอย่าง สิ่งนี้เลยทำให้มีทฤษฎีต้นแบบ เข้ามามีบทบาทเพื่อแทนที่ตัวทฤษฎีคำจำกัดความ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, May 6].