จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 416 : การเข้าถึงสติปัญญา (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 416 : การเข้าถึงสติปัญญา (2)

กอร์ดอน ปาร์ค (Gordon Park) ประสบความสำเร็จ หลังจากที่ได้รับการศึกษาอย่างถูกต้องและความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยจากผู้เชี่ยวชาญ เขาสามารถแต่ง (Compose) บทกวี (Poetry) ได้ถึง 5 เรื่องและกลายเป็นผลงานกึ่งชีวประวัติ (Semi-autobiography) ที่ขายดีที่สุด (Best seller)

เขายังได้กลายเป็นช่างภาพมืออาชีพ (Professional photographer) ของนิตยสารมากมาย รวมทั้งนิตยสาร Life ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และเขายังได้มีโอกาสกำกับภาพยนตร์ (Film director) บางเรื่อง โดยเป็นชาวอเมริกันผิวดำคนแรกในวงการภาพยนตร์ของ Hollywood

เขายังโดดเด่น (Prominent) ในสารคดี (Documentary) ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1940s ถึง 1970s โดยเฉพาะประสบการณ์ของทาส (Slave), ความยากจน (Poverty), การต่อสู้ดิ้นรน (Struggle) ชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกัน, และประเด็นด้านสิทธิ์พลเรือน (Civil rights)

นอกจากนี้ ปาร์คยังเป็นนักประพันธ์ (Author) นวนิยายเละสร้างผลงานภาพถ่าย โดยได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ (Exhibition) และได้มีการทำหนังสือเกี่ยวกับภาพงดงามที่เขาเป็นคนถ่ายเอง ซึ่งไม่ได้มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของปาร์คในวัยเด็กเลย

แม้ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนเพียงเล็กน้อย ปาร์คยังสามารถพัฒนาความสามารถในด้านการเขียนและการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ในหลายมุมมอง คำถามที่น่าสนใจก็คือทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และคำตอบก็อยู่ที่ความเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองคนเรา

อีกหนึ่งแนวทางที่ใช้ศึกษาระบบการทำงานของสมองก็คือ การเข้าถึงองค์ประกอบการรับรู้ (Cognitive approach) โดยเป็นแนวคิดของการศึกษา ว่าคนเราสามารถดำเนินการจัดเก็บและใช้ข้อมูลในสมองของตนเองได้อย่างไร และข้อมูลเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เรานึกถึง, การรับรู้และเรียนรู้, ความจำ, ความเชื่อ, และความรู้สึกได้อย่างไร

ในบทความที่ผ่านๆ มา เราได้พูดคุยถึงแนวทางของวิธีการเข้าถึงองค์ประกอบของการับรู้ เช่น ความทรงจำและการลืม ส่วนตอนต่อๆ ไป เราจะมาพูดคุยอีก 2 กระบวนการขององค์ประกอบการรับรู้ นั่นคือ ความคิดและภาษา

ความคิดเป็นสิ่งที่บางครั้งอ้างอิงจากเหตุผลและมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสมองที่ใช้ก่อรูปเป็นแนวทาง, การแก้ปัญหา, และเป็นสิ่งที่ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่วนภาษาเป็นรูปแบบเฉพาะทางของการสื่อสารที่คนเราเรียนรู้และใช้กฎเกณฑ์ที่ซับซ้อน เพื่อก่อรูปและจัดการก่อให้เกิดสัญลักษณ์ (คำศัพท์หรือท่าทาง) ที่นำมาใช้เพื่อสร้างประโยคที่มีความหมาย การใช้ความคิดและภาษาเป็นสิ่งที่คนเราสามารถทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์

บรรณานุกรม

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, April 29].
  3. Gordon Park - https://en.wikipedia.org/wiki/Gordon_Parks [2023, April 29]