จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 410 : หลักสูตรการแทรกแซง (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 19 มีนาคม 2566
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 410 : หลักสูตรการแทรกแซง (2)
หลักสูตรแทรกแซง (Intervention program) ที่เข้มข้นในโครงการเริ่มต้นขั้นมูลฐาน (Abecedarian project) เน้นย้ำพื้นฐานของความสามารถทางด้านการเรียนรู้ เช่น การอ่านเพื่อทำให้เด็กด้อยโอกาสกลุ่มนี้เตรียมความพร้อมกับการเรียนในระดับอนุบาล
ตอนเริ่มต้นหลักสูตรนี้ถูกมองว่าเป็นโครงการที่ล้มเหลวเพราะ 2 – 3 ปี หลังจากที่เด็กเข้าสู่หลักสูตรนี้ เด็กได้รับคะแนนจากแบบทดสอบในโรงเรียนและจากแบบทดสอบทางแบบทดสอบทางสติปัญญา หรือ IQ (= Intelligence quotient) ต่างกันเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่อยู่ในกลุ่มควบคุม
เวลาผ่านไปอีก 4 ปี เด็กกลุ่มทดลองจบหลักสูตรนี้ มีการทำแบบทดสอบทาง IQ อีกครั้งตอนที่พวกเขาอายุได้ 12 และ 15 ปี ด้วยคะแนนจากแบบทดสอบทางสติปัญญา หรือ IQ (= Intelligence quotient) มากกว่าเด็กในกลุ่มควบคุม (Control group) ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ด้อยโอกาสและไม่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษถึง 12 คะแนน [จาก 100]
ต่อมาหลังจากที่กลุ่มทดลองจบหลักสูตรข้างต้น และได้กลับไปใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ด้อยโอกาสอย่างเดิม พวกเขาไม่ได้มีความต้องการความช่วยเหลือทางด้านกำลังใจเพื่อคงสภาพการเรียนรู้หรือได้รับความสามารถทางสติปัญญาใหม่
หลักสูตรดังกล่าวเป็นการดูแลเด็กด้อยโอกาสรายวันโดยมีเป้าหมายอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือความสำเร็จทางด้านการศึกษาในระดับประถม, สุขภาพที่ดีขึ้น, สุขภาพทางด้านจิตใจที่แข็งแรง, การได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์, สภาวะสังคมสำหรับเด็กและครอบครัวที่ดีขึ้น, และการนำพ่อแม่มาเกี่ยวข้องในหลักสูตรนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครอบครัว
ในภาพรวม หลักสูตรดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงข้อดีในระยะยาวเช่น เด็กวัยรุ่นที่เคยได้เรียนหลักสูตรนี้จะได้เรียนอยู่ในชั้นเรียนที่เหมาะสมกับช่วงอายุของพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ต้องซ้ำชั้นและไม่แสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมหรือพฤติกรรมที่ไม่มีความรับผิดชอบอีก
ทั้งยังมีโอกาสที่จะมีอาชีพสูงและมีรายงานว่า แม่ของเด็กที่ได้ส่งลูกเข้าหลักสูตรนี้ ไม่ค่อยมีปัญหาทางด้านจิตเวชและยังมีสภาพจิตใจที่แข็งแรงและไม่ต้องการสิ่งใดเพิ่มเติม
งานวิจัยแสดงว่า เด็กที่ได้เข้ารับหลักสูตรดังกล่าวเพิ่มเติมกับระยะเวลา 2 – 7 ปีที่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านการศึกษามีอัตราประสบความสำเร็จระดับชั้นมัธยมปลายมากกว่าเด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มควบคุมมากถึง 69%
ผลลัพธ์ในระยะยาว (Long-term result) ที่เด็กได้รับในระยะยาวหลังจากที่พวกเขาได้รับหลักสูตรนี้คือ พวกเขาจะมีความสามารถทางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันส่งผลไปถึงพ่อแม่ของพวกเขาด้วย
นอกจากนี้ ผลลัพธ์ระยะยาวยังบ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวไม่ควรถูกตัดสินเพียงจากคะแนนของแบบทดสอบทาง IQ เพียงอย่างเดียว แต่ควรรวมถึงบุคลิกภาพ (Personality), แรงจูงใจ (Motivation), และข้อดีทางด้านจิตใจที่เด็กกลุ่มเข้าทดลองได้รับด้วย
แหล่งข้อมูล
- Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, March 18].
- Head Start Program - https://en.wikipedia.org/wiki/Head_Start_(program) [2023, March 18].