จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 409 : หลักสูตรการแทรกแซง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 409 : หลักสูตรการแทรกแซง (1)

แนนซี่ (Nancy) แม่หม้ายหย่าร้าง (Single mom) วัย 20 ปี เลี้ยงลูกอายุ 3 ปี เธอใช้ชีวิตกับกลุ่มคนชนชั้นล่างและเธอมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากการทำงานอาชีพเสริม

แนนซี่เรียนจบเพียงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและเธอไม่มีครอบครัวหรือเพื่อน ซึ่งภูมิหลังที่ยากลำบาก, ระดับการศึกษาที่ด้อย, และสภาพแวดล้อมที่ยากจน อาจส่งผลกับลูกของเธอ นักจิตวิทยาได้คาดเดาว่าลูกวัย 3 ขวบของแนนซี่จะไม่ได้รับโอกาสเสริมสร้างความสามารถทางสติปัญญาและโอกาสที่จะทำให้เด็กคนนี้ไปได้ดีในโรงเรียน และในสังคม

ลูกของแนนซี่อาจต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งความช่วยเหลือจากรัฐอาจมาจากหลักสูตรการแทรกแซง (Intervention program) โดยหลักสูตรนี้จะสร้างสภาพแวดล้อมที่มอบโอกาสได้มากขึ้นสำหรับความรู้เชิงสติปัญญา (Intellectual), การพัฒนาบุคลิกภาพและอารมณ์, และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในขณะที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่ไปด้วย

หลักสูตรการแทรกแซงมีอยู่หลายประเภทที่สามารถสอนให้แนนซี่ กลายเป็นผู้ปกครองที่ดีและทำให้เธอสามารถมอบโอกาสทางด้านการศึกษาและสังคมที่ดีแก่ลูกเธอต่อไปได้

หลักสูตรการแทรกแซงที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาคือ หลักสูตรต้นแบบ โดยเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1965 เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาประมาณ 6 - 8 สัปดาห์ โดยงบประมาณการสร้างหลักสูตรนี้อยู่ที่ 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันมีเป้าหมายคือการต่อต้านความยากจน

นักวิจัยค้นพบว่าหลักสูตรดังกล่าวต้องการระยะเวลาการเรียนที่มากขึ้น ดังนั้นพวกเขาจึงขยายระยะเวลาของหลักสูตรเพิ่มเป็น 2 ปี ซึ่งเด็กอายุ 3 – 5 ปีได้เข้าร่วมหลักสูตรนี้นับล้านคน

เป้าหมายของโครงการนี้มีขึ้นเพื่อสอนเด็กที่มีอายุน้อยจากสภาพแวดล้อมที่ด้อยโอกาส โดยสอนเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญาและสังคมที่เด็กจำเป็นต้องมี เพื่อความสำเร็จทางการศึกษาในอนาคตของพวกเขา นักจิตวิทยาแยกแยะเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง (อาจสอบตกในโรงเรียน) เพราะว่าพวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ด้อยโอกาส

แม่ของเด็กกลุ่มข้างต้นส่วนมากเป็นแม่หม้ายหย่าร้างที่มี IQ (= Intelligence quotient) หรือสติปัญญาต่ำ ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวดำ (African American) ที่อายุน้อยและไม่ได้จบการศึกษาอะไร

จากการได้รับอนุญาตของผู้ปกครอง นักวิจัยได้แบ่งเด็กทารกวัย 2 – 3 เดือนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม (Control group) โดยเด็กกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการดูแลใดๆ เป็นพิเศษ ดำเนินชีวิตไปตามปรกติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มที่ถูกทดลอง (Experimental group)

เด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มทดลองจะต้องใช้เวลา 6 ชั่วโมงหรือมากกว่าต่อวัน และใน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยจะได้รับการช่วยเหลือหรือดูแลเป็นพิเศษต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ปี จนพวกเขาสามารถเข้าโรงเรียนได้ในวัย 5 ขวบ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [2023, March 11].
  3. Head Start Program - https://en.wikipedia.org/wiki/Head_Start_(program) [2023, March 11].