จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 403 : ข้อขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 403 : ข้อขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ (1)

ต้นปีคริสตทศวรรษ 1900s นักจิตวิทยาเชื่อว่าความสามารถทางสติปัญญาหรือไอคิวเป็นสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดทางด้าน พันธุกรรมเป็นหลัก แนวคิดนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในหนังสือที่มีชื่อว่า “กราฟทรงระฆังคว่ำ” (The Bell Curve) ซึ่งเขียนโดยนักจิตวิทยานามว่าริชาร์ด เฮ็มสไตน์ (Richard Hernstein) และชาร์ลส เมอร์รี่ (Charles Murray)

แต่สิ่งที่ทำให้ผู้เขียน 2 ท่านนี้เป็นนักเขียนที่โด่งดังขึ้นมา ก็คือสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า คะแนนทางไอคิวของชนชาติที่ต่างกัน เป็นผลมาจากพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านการสืบทอดเป็นหลัก

คำกล่าวจาก 2 นักจิตวิทยาข้างต้น ได้สร้างความเข้าใจผิดในข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในสังคม สมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา (American Psychology Association: APA) ได้สร้างส่วนงานพิเศษของนักค้นคว้าประจำ ซึ่งเป้าหมายของสมาคมดังกล่าวมีไว้เพื่อสรุปข้อมูลทางสติปัญญาที่ได้ศึกษา

เพื่อทำให้พวกเราเข้าใจเกี่ยวกับข้อโต้แย้งของความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติรอบตัวเราในคะแนนทางไอคิว นักจิตวิทยา 2 ท่านข้างต้นได้สร้างกราฟทรงระฆังคว่ำเพื่ออธิบาย

คะแนนทางไอคิวถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งในส่วนแรกแสดงให้เห็นการกระจายออกของคะแนนทางไอคิว ของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน (ชาวอเมริกันผิวดำ) และอีกส่วนแสดงให้เห็นการกระจายของคะแนนทางไอคิวของชาวอเมริกันผิวขาว แม้ว่าอาจมีหลายส่วนในคะแนนทางไอคิวของคน 2 กลุ่มนี้ที่ทับซ้อนกัน แต่นักวิจัยเห็นด้วยว่าค่าเฉลี่ยคะแนนทางไอคิวของชาวอเมริกันผิวดำ ต่ำกว่าชาวอเมริกันผิวขาว 15 คะแนน

ค่าเฉลี่ย 15 คะแนนที่แตกต่างกันหมายความว่า ถึงแม้มีชาวอเมริกันผิวดำ ที่มีคะแนนทางไอคิวสูง แต่สัดส่วนจำนวนของพวกเขามีน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชาวอเมริกันผิวขาว

อย่างน้อยมี 2 คำอธิบายที่เป็นไปได้เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยคะแนนทางไอคิวที่แตกต่างกันถึง 15 คะแนน อย่างแรกคือความแตกต่างอาจเกี่ยวข้องกับการได้รับสืบทอดหรือปัจจัยทางด้านพันธุกรรม

จากคำอธิบายข้างต้น ชาวอเมริกันผิวดำ มีพันธุกรรมที่ด้อยกว่าชาวอเมริกันผิวขาว แต่คำอธิบายอย่างถัดมาก็คือจำนวนความแตกต่างอาจมาจากปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม ซึ่งชาวอเมริกันผิวดำมีสังคม, เศรษฐกิจ, และโอกาสทางด้านการศึกษาที่น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชาวอเมริกันผิวขาว

แม้ว่าผู้แต่ง 2 ท่านข้างต้นจะเอนเอียงความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับคำอธิบายข้อแรก แต่มีนักจิตวิทยาหลายท่านไม่เห็นด้วย

ได้มีการทบทวนหนังสือกราฟระฆังคว่ำโดยละเอียดอีกครั้ง หนึ่งในผู้นำนักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับด้านสติปัญญาสรุปว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้โน้มน้าวใจพวกเขาในข้อพิสูจน์ที่ว่า ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ชาวอเมริกันผิวดำและชาวอเมริกันผิวขาว มีค่าเฉลี่ยทางไอคิวที่แตกต่างกันถึง 15 คะแนน

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Heritability - https://en.wikipedia.org/wiki/Heritability [2023, January 28].
  3. The Bell Curve - https://en.wikipedia.org/wiki/The_Bell_Curve [2023, January 28].