จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 402 : ครอบครัวที่รับเด็กมาเลี้ยง (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 22 มกราคม 2566
- Tweet
จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 402 : ครอบครัวที่รับเด็กมาเลี้ยง (2)
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้พูดคุยเกี่ยวกับค่าอัตราพันธุกรรม (Heritability) ว่าเป็นตัวเลขที่บ่งชี้จำนวนสัดส่วนของความสามารถบางอย่าง, ลักษณะนิสัย, หรืออุปนิสัยที่สามารถประกอบขึ้นเป็นปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (ธรรมชาติ)
ยกตัวอย่างเช่น ค่าอัตราพันธุกรรมจากค่าสติปัญญาทั้งหมด (สามารถวัดค่าได้โดยแบบทดสอบทางไอคิว) มี 50% ซึ่งหมายความว่า 50% จากความสามารถทางสติปัญญาทั่วไปมาจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
นักวิจัยสามารถคำนวณคะแนนของค่าอัตราพันธุกรรม จากความสามารถทางสติปัญญาที่เฉพาะเจาะจง เช่น ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial ability) 32%, ความสามารถทางด้านการพูด 55%, และความทรงจำ 55% เป็นต้น
การศึกษาเรื่อง ค่าอัตราพันธุกรรมประเภทนี้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (ที่ได้รับจาธรรมชาติ) มีส่วนเกี่ยวข้องถึง 50% ของระดับสติปัญญา
ก้าวสำคัญของการค้นคว้าเกี่ยวกับพันธุกรรม ค้นพบจากการบ่งชี้กลุ่มยีนเฉพาะ(Genes) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้ทางสติปัญญาที่เฉพาะทาง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ค่าอัตราพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องถึง 50% กับสติปัญญาของคนเรา ซึ่งหมายความว่ายีนไม่ได้บ่งชี้หรือจำกัดความสามารถเหล่านี้ทั้งหมด เพราะอีก 50% มาจากปัจจัยทางด้านการเลี้ยงดู
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมเปรียบเสมือน การทำให้เกิดความสามารถที่หลากหลายหรือพฤติกรรมที่มีการก่อรูปผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนและสภาวะแวดล้อม แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านพันธุกรรมทำงานได้อย่างไร วัดเป็นช่วงระยะของปฏิกิริยา (Reaction range)
ช่วงระยะของปฏิกิริยาบ่งชี้ขอบเขตของลักษณะนิสัย, ความสามารถ, หรือคะแนนทางไอคิวที่อาจเพิ่มหรือลด โดยส่งผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม
นักวิจัยคาดการณ์ว่า ช่วงระยะของปฏิกิริยาอาจทำให้คะแนนไอคิวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ถึง 10 - 15 คะแนน ยกตัวอย่างเช่น ไอคิวของคนเราอาจเพิ่มจาก 85 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นว่า พวกเขาได้มีปฏิสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมมากหรือน้อย
การศึกษาเกี่ยวกับค่าอัตราพันธุกรรม, ฝาแฝด, และเด็กที่ถูกรับมาเลี้ยง ทำให้รู้คำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติและการเลี้ยงดู (Nature-nurture)
ธรรมชาติหรือการได้รับสืบทอดทางพันธุกรรม (Heredity) มีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 50% ของระดับสติปัญญามนุษย์และสภาวะแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูมีส่วนเกี่ยวข้องอีก 50%
อย่างไรก็ตามไอคิวของคนเราสามารถแปรผันได้ 10 – 15 คะแนน ขึ้นอยู่กับระบบทางพันธุกรรมว่ามีปฏิสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันได้อย่างไร
แหล่งข้อมูล